
ชิวาวาเป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมาก แม้ว่าจะเป็นสุนัขที่เลี้ยงง่าย เป็นมิตร ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงไม่มาก แต่ด้วยความที่เป็นสุนัขพันธุ์เล็กจึงมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท้องและต้องคลอดเอง ซึ่งเชิงกรานที่เล็กของชิวาวาอาจจะทำให้หลายคนเป็นกังวลว่าชิวาวาคลอดลูกเองได้ไหม วันนี้เราจะพาไปดูข้อเท็จจริงในเรื่องนี้กัน
ชิวาวาคลอดลูกเองได้ไหม คำถามที่คนเลี้ยงต้องรู้
ชิวาวาคลอดลูกเองได้ไหม ปัจจัยใดที่ทำให้คลอดยาก นับว่าเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงต้องรู้เอาไว้ เนื่องจากชิวาวาเป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่มักมีปัญหาเรื่องเชิงกรานแคบ และหลายครั้งที่ลูกสุนัขในท้องมีขนาดตัวที่ใหญ่เกินไปอันเนื่องมาจากการไปผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ใหญ่กว่า ทำให้มีภาวะคลอดยากและหลายครั้งก็อาจจะคลอดเองไม่ได้ ซึ่งผู้เลี้ยงชิวาวาควรรู้ถึงความเสี่ยงในการตั้งท้องของชิวาวาที่มีอยู่ด้วยกันหลายประการดังต่อไปนี้
1.รูปร่างและขนาดของอุ้งเชิงกราน หากกระดูกเชิงกรานแคบ ไม่ว่าจะเนื่องมาจากโครงสร้างของสายพันธุ์ก็จะเป็นสาเหตุของการคลอดยากของชิวาวา
2.มดลูกไม่สามารถหดตัวได้ ทำให้ไม่สามารถทำให้บีบตัวให้ลูกสุนัขคลอดออกมาได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการคลอด
3.ขนาดของลูกสุนัข ซึ่งหากลูกสุนัขตัวใหญ่เกินไป อันเนื่องมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ใหญ่ดังที่กล่าวไปข้างต้นก็ทำให้แม่ชิวาวาคลอดยาก และหลายกรณีก็อาจจะคลอดเองไม่ได้
4.การตายของลูกสุนัขในครรภ์ โดยอาจส่งผลให้ตำแหน่งผิดปกติและอาจส่งผลต่อการหดตัวของมดลูก จนทำให้เกิดการคลอดได้ยากนั่นเอง
จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นทำให้รู้ว่าด้วยสายพันธุ์ของชิวาวาที่มีขนาดตัวเล็ก จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงในการคลอดยากและมีปัญหาในระหว่างการคลอดได้มาก ดังนั้น เมื่อชิวาวาตั้งท้อง และผู้เลี้ยงมีความสงสัยว่าชิวาวาคลอดลูกเองได้ไหม ก็จะได้คำตอบว่าทำได้ แต่ความเสี่ยงที่จะคลอดเองไม่ได้นั้นก็มีอยู่มากเช่นกัน จึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษและพาไปพบแพทย์เมื่อชิวาวาตั้งท้องเพื่อที่จะได้ทำการตรวจร่างกายและวางแผนในการคลอดให้ปลอดภัย
ชิวาวาคลอดลูกเองได้ไหม รู้ได้ไม่ยากกับ 3 วิธีตรวจเช็คตามนี้!!
เมื่อเจ้าของรู้ว่าชิวาวา สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำก็คือ ต้องพาสุนัขไปตรวจร่างกาย โดยแพทย์จะทำการตรวจหลายอย่างเพื่อประเมินความสมบูรณ์ของสุขภาพแม่สุนัขและประเมินความยากง่ายในการคลอด ซึ่งจะประกอบไปด้วยการตรวจดังต่อไปนี้
1.การตรวจร่างกายทั่วไปโดยการคลำ
เป็นการตรวจเบื้องต้นเพื่อยืนยันว่าสุนัขท้องจริงหรือเพียงแค่อ้วน หรือเป็นปัญหาสุขภาพอื่นๆ อย่างเช่น ท้องอืด หากท้องโตมากและลูกสุนัขในท้องมีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ แพทย์ก็จะสามารถคลำพบถุงตัวอ่อนที่ยืนยันได้ส่วนหนึ่งว่าชิวาวาท้องจริง
2.Ultrasound
เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องมือส่งคลื่นเสียงสะท้อนเข้าไปในช่องท้อง ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่วันที่ 25 ภายหลังของการผสมพันธุ์ โดยการตรวจจะสามารถเห็นหัวใจของลูกสุนัขในท้องว่ายังเต้นดีหรือไม่ รวมถึงทราบขนาดของลูกสุนัขในท้องที่แพทย์จะใช้เป็นข้อมูลในการประเมินว่าแม่ชิวาวาจะคลอดเองได้หรือไม่
3.X-ray
เป็นการตรวจที่สามารถทำได้ตั้งแต่วันที่ 45 หลังการผสมพันธุ์ ซึ่งในช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่ลูกสุนัขในท้องเริ่มเติบโตเกือบเต็มที่แล้ว แพทย์จึงสามารถประเมินขนาดตัวของลูกสุนัขเทียบกับขนาดเชิงกรานของแม่ชิวาวาว่าจะคลอดเองได้หรือไม่ รวมทั้งสามารถทราบจำนวนลูกในท้องได้อย่างแน่นอนว่ามีกี่ตัว
การพาชิวาวาไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย จะทำให้แพทย์ประเมินได้ว่าชิวาวาคลอดลูกเองได้ไหม เมื่อเทียบขนาดและจำนวนของลูกในท้องเทียบกับขนาดเชิงกรานของแม่สุนัข หากประเมินแล้วว่ามีน่าจะคลอดเองยากเนื่องจากขนาดตัวลูกใหญ่กว่าเชิงกรานมาก แพทย์จะได้ทำการวางแผนช่วยเหลือในการคลอดอย่างการผ่าคลอด เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการคลอด ซึ่งจะทำให้ทั้งแม่และลูกชิวาวาปลอดภัย
วิธีการช่วยเหลือและดูแลในระหว่างแม่ชิวาวาคลอด
ชิวาวาเป็นสุนัขตัวเล็ก ดังนั้น กระบวนการคลอดจึงอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ อย่างเช่น ลูกสุนัขชิวาวามีหัวที่ใหญ่ไม่สมส่วน ซึ่งนำไปสู่โอกาสที่จะติดอยู่ในช่องคลอดของแม่มากขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจร่างกายโดยแพทย์ในขณะตั้งท้องเพื่อให้แน่ใจว่าแม่สุนัขมีความพร้อมที่จะคลอดเองได้ รวมถึงผู้เลี้ยงเองก็ควรจะมีความรู้ในการดูแลชิวาวาในระหว่างคลอดเพื่อให้แม่สุนัขผ่านการคลอดไปได้อย่างปลอดภัย ซึ่งการเตรียมความพร้อมในการคลอดนั้นสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1.แยกตัวแม่ชิวาวาออกมา
ก่อนคลอด 3 สัปดาห์ ควรแยกแม่ชิวาวาออกจากสุนัขตัวอื่นและสิ่งรบกวนต่างๆ เพื่อให้แม่ชิวาวามีความเครียดน้อยลง อยู่ในอารมณ์สงบพร้อมที่จะรับมือกับการคลอด นอกจากนี้การแยกแม่ชิวาวาออกจากสุนัขตัวอื่นในช่วงนี้ยังช่วยป้องกันการติดโรคหรือการเจ็บป่วยต่างๆ และหลังคลอดก็ต้องแยกออกจากสุนัขตัวอื่นอย่างน้อย 3 สัปดาห์เช่นกัน ด้วยเหตุผลเดียวกันและเพื่อให้แม่ชิวาวาได้พักผ่อนและเลี้ยงดูลูกที่เพิ่งคลอดได้อย่างเต็มที่
2.เตรียมพื้นที่ในการคลอดให้พร้อม
โดยการเตรียมกล่องมาวางบนพื้นที่ส่วนตัวที่เงียบสงบ พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าด้านข้างของกล่องสามารถเข้าและออกได้ง่ายหรือไม่ และควรแข็งแรงเพียงพอที่ลูกสุนัขแรกเกิดจะออกจากกล่องไม่ได้ พร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์อย่างผ้าเช็ดตัวหรือผ้าห่มเก่าที่สะอาดเอาไว้ด้วย
3.สังเกตอาการของชิวาวาใกล้คลอด
โดยมีอาการคือ สุนัขจะเริ่มแยกตัวเข้าหาที่สงบ คุ้ยเขี่ยผ้า กระวนกระวายอยู่ไม่สุข ก็ให้เตรียมพร้อมที่จะดูแลการคลอด ด้วยการเตรียมพื้นที่ให้สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน
4.ปรับบรรยากาศให้ผ่อนคลาย
เมื่อถึงเวลาคลอด แม่ชิวาวาจะมีการเบ่ง และอาจมีการร้องคร่ำครวญ หายใจหอบ ซึ่งผู้ดูแลต้องหรี่ไฟหรือเตรียมพื้นที่ให้มีแสงเพียงสลัว พร้อมบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นส่วนตัว
5.ตรวจสอบการหดตัวของมดลูก
โดยการวางมือลงบนท้องของชิวาวาคุณจะรู้สึกถึงการหดตัวของมดลูก โดยปรากฏเป็นคลื่นที่ท้องที่มีการหดตัวและคลายตัวสลับกันเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ยิ่งใกล้คลอดมากขึ้นเท่าไหร่ คุณจะสังเกตเห็นว่าการหดตัวเริ่มถี่ขึ้นและหรือเด่นชัดขึ้น แม่สุนัขอาจยืนขึ้นซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดี อย่าพยายามบังคับให้แม่สุนัขนอนลง
6.แม่สุนัขจะเริ่มเบ่ง
โดยคุณจะสังเกตเห็นว่าแม่ชิวาวาจะมีการกลั้นหายใจและอาจมีเสียงคำราม จากนั้นลูกสุนัขจะค่อยๆ คลอดออกมาทางช่องคลอดโดยใช้เวลาเฉลี่ยในการคลอดประมาณ 30 นาที แต่ก็มีอยู่ด้วยกันหลายครั้งที่ลูกสุนัขบางตัวเกิดห่างกันเพียงไม่กี่นาที ในขณะที่บางตัวเกิดโดยใช้เวลาห่างเป็นช่วงโมง ดังนั้น การพาไป X-ray เพื่อดูจำนวนลูกในท้องเอาไว้ก่อนจึงช่วยได้มาก เพราะจะได้รู้ว่าลูกสุนัขคลอดออกมาครบหรือไม่ และมีค้างอยู่ในท้องแม่อีกกี่ตัวที่คลอดเองไม่ได้
หากแม่สุนัขมีอาการเบ่งนานแล้ว แต่ลูกยังไม่คลอดออกมา ท้องแข็งและมีอาการอ่อนเพลียมาก เจ้าของอาจจะต้องพิจารณาพาแม่ชิวาวาไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่น มดลูกแตกหรือลูกชิวาวาตายในท้อง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เจ้าของต้องติดต่อกับแพทย์เอาไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อที่ว่าเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
สำหรับผู้เลี้ยงชิวาวาที่กำลังกังวลว่าชิวาวาคลอดลูกเองได้ไหม ถึงตอนนี้คงรู้แล้วว่าการพาชิวาวาไปตรวจร่างกายและให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยวางแผนในการคลอด เพื่อทำให้แม่และลูกชิวาวามีความปลอดภัย คลอดออกมาได้อย่างดีและมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
อ่านเรื่องราวสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม