สำหรับผู้ที่เลี้ยงกระต่ายมาตั้งแต่แรกเกิดหรือการลี้ยงกระต่ายกำพร้า เชื่อว่าคุณต้องการเรียนรู้เรื่อง พัฒนาการลูกกระต่าย เพิ่มเติมอย่างแน่นอน เพราะการเลี้ยงกระต่ายในช่วงวัยนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าเลี้ยงได้ไม่ดีพออัตราการเสียชีวิตของลูกกระต่ายก็ถือว่ามีสูงมากเลยทีเดียว ดังนั้นการดูแลจึงต้องเป็นไปตามพัฒนาการลูกกระต่ายที่ต้องเลี้ยงอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วยวัยเพื่อให้ลูกกระต่ายเติบโตมาอย่างแข็งแรง ไร้โรคภัย และสามารถดำรงชีวิตได้ดีคล้ายกับมีแม่กระต่ายเลี้ยงมาตามปกติ ซึ่งพัฒนาการของลูกกระต่ายที่คุณควรรู้ เพื่อนำไปปรับใช้กับการเลี้ยงของคุณมีดังนี้
พัฒนาการของลูกกระต่ายที่คุณควรรู้มีดังนี้
- พัฒนาการลูกกระต่ายแรกเกิดมักจะใช้ชีวิตอยู่ติดกับแม่กระต่ายเสมอ แม่กระต่ายจะมีการเลี้ยงลูกวันละ 1-2 ครั้ง โดยจะเป็นการป้อนนมและอยู่กกลูกในช่วงเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนช่วงกลางวันแม่กระต่ายจะออกมาใช้ชีวิตตามปกติ ส่วนลูกกระต่ายจะนอนหลับเป็นส่วนมาก **มาดูกันต่อดีกว่าว่า “หญิงหรือชาย? มาดู วิธีดูเพศกระต่าย มืออาชีพเขาดูกันยังไง?“**
- ช่วงเวลาอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 วัน ดวงตาของลูกกระต่ายจะปิดอยู่ตลอดเวลา ตาจะมองไม่เห็นและหูของลูกกระต่ายก็จะไม่ได้ยินเสียงเช่นกัน หลังจากการเติบโตพ้น 8 วันไปแล้ว พัฒนาการลูกกระต่าย จึงจะสามารถได้ยินเสียงเพิ่มขึ้นและตาจะเริ่มเปิดขึ้นเรื่อยๆ
- เมื่ออายุของลูกกระต่ายเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 จะเริ่มมีขนขึ้นตามลำตัว ถ้าเป็นแบบพันธุ์ขนยาวจะเริ่มออกขนหนาฟูและยาวให้เห็นชัดขึ้น พร้อมการเริ่มหัดกินอาหารกระต่ายทั้งแบบอาหารสดและอาหารเม็ดแบบนิ่ม แต่ในขณะเดียวกันก็จะยังกินนมแม่อยู่เสมอ
- ลูกกระต่ายจะเริ่มหย่านมแม่แบบจริงจังในช่วงสัปดาห์ที่ 5 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 8 ส่วนใหญ่แล้วเมื่อจบสัปดาห์ที่ 8 ลูกกระต่ายจะสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติและหยุดการกินนมแม่อย่างเห็นได้ชัด
- เมื่อกระต่ายเริ่มเติบโตจนกระทั่งถึงอายุ 4 เดือน จะเริ่มการผสมพันธุ์ใหม่อีกครั้ง **มาดูกันต่อดีกว่าว่า “ทำยังไงถึงจะรู้ว่า กระต่ายท้อง {การตรวจเช็คอาการเบื้องต้น}“**
อ่านสาระน้องกระต่าย เพิ่มเติม;
- มาดูกันว่า กระต่ายมีพันธุ์อะไรบ้าง ที่เป็นที่นิยมสุดๆ [2020]
- “กระต่ายพันธุ์” พันธุ์ไหนบ้างที่เป็นที่นิยมในหมู่คนรักกระต่าย [2020]
- ดูเพศกระต่าย ดูยังไงนะ? [มารู้จักวิธีการดูเพศกระต่ายกันดีกว่า]
- ฮอลแลนด์ลอป กระต่ายที่หากใครได้ลองเลี้ยงแล้วจะต้องหลงรัก
- กระต่ายขนร่วง ไม่รู้จะทำยังไงดี เรามีคำตอบ
- รักษาอย่างไรดีเมื่อน้อง กระต่ายขนร่วง เรามีคำแนะนำมาฝาก
วิธีดูแลตาม พัฒนาการลูกกระต่าย ในแบบเบื้องต้น
ถ้าคุณทำฟาร์มกระต่ายที่จะต้องแยกตัวลูกกระต่ายออกมาดูแลต่างหาก หรือเป็นการเลี้ยงลูกกระต่ายกําพร้า เพื่อให้พัฒนาการลูกกระต่ายเป็นไปอย่างถูกต้อง โดยควรมีวิธีการดูแลลูกกระต่ายดังนี้
- ถ้าคุณต้องทำการป้อนนมเอง ควรเลือกอุปกรณ์ในการป้อนนมที่เหมาะสมต่อกระต่ายในแต่ละช่วงวัย เช่น จุกนมหรือขวดนมที่จะต้องมีขนาดพอเหมาะต่อปากของกระต่ายและปริมาณน้ำนมที่ออกมาจากจุกนม จะต้องไม่ไหลเร็วหรือช้าเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดการสำลักนมและไม่ให้ทำให้เกิดปัญหาท้องอืด ในขณะที่กำลังป้อนนมจึงให้ระวังเรื่องของการสำลักนมให้มาก ดังนั้นเมื่อนำนมมาใส่ขวดเรียบร้อยแล้วให้บีบดูวิถีการไหลของนมให้ดีก่อนการป้อนทุกครั้ง
- เมื่อป้อนนมเสร็จไปสักครู่ ให้คุณเริ่มขั้นตอนกระตุ้นการฉี่และการขับถ่ายของลูกกระต่าย ด้วยการนำสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดตรงช่วงก้นและช่วงอวัยวะเพศ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายแบบเป็นธรรมชาติ วิธีการนี้จะเป็นการเลียนแบบการเลียก้นของแม่กระต่าย
- เลือกพื้นที่นอนให้กับลูกกระต่ายที่มีบรรยากาศคล้ายรังของกระต่ายมากที่สุด คือ อยู่ในที่สงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน มีความอบอุ่นด้วยการใช้ไฟกกตัวลูกกระต่าย เพื่อให้ความรู้สึกที่คล้ายกับการกกของแม่ให้มากที่สุด
- ลูกกระต่ายในช่วงอายุที่ต่ำกว่า 6 เดือน ให้เลือกใช้อาหารเป็นหญ้า Alfalfa มาทำเป็นส่วนประกอบหลักภายในอาหารของลูกกระต่ายทุกมื้อ
- ลูกกระต่ายที่มีอายุเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ให้เริ่มกินอาหารที่มีส่วนผสมหลักเป็นหญ้า Timothy
- สำหรับการป้อนนมลูกกระต่ายนั้น สามารถเลือกใช้เป็นนมแมวหรือนมแพะได้ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดคือการใช้เป็นนมแมวผสมกับนมแพะเพื่อให้ได้สัดส่วนของสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมต่อตัวลูกกระต่าย เพราะน้ำนมของแม่กระต่ายโดยแท้จะมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงกว่าน้ำนมของสัตว์ในชนิดอื่น ดังนั้นการนำนมแมวกับนมแพะมาผสมกันจึงจะทำให้ได้สารอาหารสูงที่เทียบเท่ากับน้ำนมของแม่กระต่าย
- สำหรับการป้อนนมของลูกกระต่ายในแต่ละวันและแต่ละช่วงวัย ควรเป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ควรป้อนมากหรือน้อยจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องท้องอืด, ท้องเสีย และขาดสารอาหาร ที่อาจพาให้ลูกกระต่ายเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้อนนมที่ดีจึงควรป้อนวันละ 2-4 ครั้ง โดยมีการให้ตามปริมาณดังนี้
- สำหรับลูกกระต่ายในวัยแรกเกิดจนถึง 1 สัปดาห์ ป้อนเพียง 2-2.5 ซีซี ต่อมื้อ
- ลูกกระต่ายอายุ 1-2 สัปดาห์ ให้ป้อน 5-7 ซีซี ต่อมื้อ
- ลูกกระต่ายอายุ 2-3 สัปดาห์ ให้ป้อน 7-13 ซีซี ต่อมื้อ
- และลูกกระต่ายอายุ 3-6 สัปดาห์ ให้ป้อน 13-15 ซีซี ต่อมื้อ
แต่ปริมาณการป้อนนี้จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของกระต่ายด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรศึกษาให้ดีก่อนการป้อนเพื่อทำให้เกิดความเหมาะสมของการได้รับน้ำนมอย่างถูกต้องต่อสายพันธุ์และขนาดของกระต่ายต่อไป
วงจรชีวิตของกระต่ายเป็นอย่างไร
วงจรของชีวิตกระต่ายโดยรวมแล้วจะมีอายุเฉลี่ยที่ประมาณ 3-5 ปี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของตัวกระต่ายเป็นหลัก ถ้าสุขภาพยิ่งดีอายุก็จะยิ่งยาวนานขึ้น
ส่วนกระต่ายในสายพันธุ์กระต่ายแคระ หรือกระต่ายตัวเล็กจะมีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างสั้นกว่ากระต่ายทั่วไป แต่สำหรับกระต่ายสายพันธุ์ใหญ่หรือกระต่ายที่มีตัวใหญ่อายุจะยืนยาวถึง 15-20 ปี ได้ด้วยเช่นกัน
เรียนรู้การเลี้ยงดูและพัฒนาการลูกกระต่ายในแบบแม่กระต่ายเลี้ยงเอง
- เมื่อลูกกระต่ายออกจากท้องแม่แล้ว แม่กระต่ายจะให้นมอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 เวลา คือ ช่วงประมาณ 04.00-05.00 น. และช่วง 18.00-20.00 น.ทุกวัน หรือจะอาจจะเป็นเวลาใกล้เคียงจากนี้ สำหรับลูกกระต่ายที่ได้รับนมอย่างครบถ้วนจะสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ มีลักษณะตัวพองและดูอ้วนสมบูรณ์ทุกตัว แต่ถ้ามีตัวใดที่ผอมผิดสังเกต ไม่อ้วนเท่าตัวอื่น แสดงว่าได้รับนมไม่เพียงพอหรืออาจจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ
- ช่วงที่แม่กระต่ายอยู่นอกจากการให้นมแล้ว แม่กระต่ายจะทำความสะอาดลูกในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นดวงตาหรือการกระตุ้นให้ขับถ่าย นอกจากนี้จะมีการนอนกกเพื่อให้ลูกกระต่ายได้รับความอบอุ่น แต่จะใช้เวลาเพียงไม่นานหรือประมาณแค่ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น เวลาที่เหลือแม่กระต่ายก็จะออกไปใช้ชีวิตตามปกติ
- เมื่อเริ่มพ้น 10 วัน ลูกกระต่ายจะลืมตาขึ้นมาด้วยตัวเอง หลังจากนี้ความสนใจในการกินนมแม่กระต่ายจะเริ่มลดลงและจะกลายมาเป็นอาหารอื่นแทน โดยแม่กระต่ายจะมีการนำยอดหญ้าที่เป็นหญ้าขนนิ่มขนาดเล็ก มาให้ลูกกระต่ายแทะกินและเมื่ออายุมากขึ้นกว่า 3 สัปดาห์ ลูกกระต่ายจะเริ่มกินอาหารเม็ด อาหารสด และหญ้าได้ตามปกติเหมือนกับกระต่ายทั่วไป ส่วนเรื่องของการกินนมนั้นก็จะลดลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหย่านมไปเองโดยธรรมชาติ
- เมื่อเข้าอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ลูกกระต่ายจะเริ่มหาที่อยู่ของตัวเองด้วยการดมและการกระโดดไปรอบๆ เพื่อดูพื้นที่และมองหาที่ที่เหมาะสม พร้อมประกาศความเป็นเจ้าถิ่น ในช่วงเวลานี้แม่กระต่ายจะเริ่มผลักออกจากตัวลูกกระต่าย เพราะถือว่าโตพอที่จะแยกอยู่เดี่ยวได้แล้วนั่นเอง
- วิธีการสำรวจพื้นที่เพื่อมองหาที่อยู่ของลูกกระต่าย จะใช้ตรงส่วนคางถูไถในบริเวณที่ตัวเองต้องการ เพื่อให้กลิ่นที่อยู่ใต้คางติดในบริเวณนั้น เป็นการประกาศให้ลูกกระต่ายตัวอื่นรู้ว่าตรงส่วนนี้เป็นพื้นที่ของตัวเอง การหาพื้นที่ส่วนตัวนั้นมักจะเกิดกับกระต่ายตัวผู้เป็นส่วนใหญ่ และเมื่ออยู่ที่ประมาณ 4 เดือน แม่กระต่ายจะไม่เข้ามายุ่งกับลูกกระต่ายอีกต่อไป เพราะช่วงเวลานี้กระต่ายจะโตเต็มวัยจนสามารถผสมพันธุ์ได้ แต่การผสมพันธุ์ที่ดีที่สุดควรอยู่ในช่วงระยะเวลา 6-8 เดือน เพราะถ้าเริ่มผสมพันธุ์ตั้งแต่ 4 เดือน ลูกที่ออกมาอาจจะมีปัญหาสุขภาพหรือเกิดปัญหาพิการได้ง่าย ดังนั้นช่วงวัยที่สมบูรณ์ที่สุดจึงเป็นช่วง 6-8 เดือนขึ้นไปเท่านั้น
ข้อมูลทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังสนใจต่อ พัฒนาการลูกกระต่าย เพราะต้องการจะเลี้ยงกระต่ายด้วยตัวคุณเองหรือเลี้ยงลูกกระต่ายกำพร้า ดังนั้นถ้าคุณต้องการเลี้ยงลูกกระต่ายให้เติบโตมาสมบูรณ์ แข็งแรง และรอดพ้นจากโรคภัยต่างๆ ให้คุณอ่านวิธีการเลี้ยง พัฒนาการของลูกกระต่ายที่ถูกต้อง และรายละเอียดทั้งหมดภายในบทความนี้ รับรองว่าคุณจะสามารถเลี้ยงลูกกระต่ายแรกเกิดให้เติบโตมาปลอดภัยและสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอย่างแน่นอน
อ่านสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม;
- หมาตาแฉะ เพราะอะไร จะรักษาและป้องกันได้อย่างไร
- รวมมิตรยอดฮิต แมวขนสั้น ที่คนไทยชอบเลี้ยง
- รู้ทันโรคไร ขี้เรื้อน รักษาอย่างไรเมื่อน้องหมาของเราเป็นโรคขี้เรื้อน
- วิธีเลี้ยงแมวให้อ้วน เลี้ยงยังไงให้มีสุขภาพที่ดีด้วย
- ช่วยด้วยครับ! หมาหายใจแรง [ผิดปกติหรือเปล่า]