เมื่อสุนัขสุดที่รักตั้งท้อง คนเลี้ยงย่อมจะรู้สึกตื่นเต้นดีใจแต่ทั้งนี้หลายคนก็เกิดความกังวลว่าจะสามารถรับมือกับช่วงเวลาที่สุนัขจะคลอดลูกได้หรือไม่ โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการดูแลสุนัขคลอดมาก่อน เมื่อเจอว่า สุนัขใกล้คลอด มีอาการท้องแข็ง จะต้องทำอย่างไร ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงอาการของสุนัขใกล้คลอดและวิธีการดูแลที่ถูกต้องกัน
สุนัขใกล้คลอด มีอาการท้องแข็ง อาการนี้เป็นอย่างไร?
หลายคนที่เลี้ยงสุนัข แต่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการดูแลสุนัขใกล้คลอด เมื่อเจอภาวะต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่ค่อยแน่ใจ อย่างเช่น สุนัขใกล้คลอด มีอาการท้องแข็ง ก็จะเกิดความลังเลและความกังวลใจว่าเป็นอาการที่ปกติหรือไม่ ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างไร ซึ่งอาการท้องแข็งนั้นเป็นอาการปกติที่สามารถพบได้ในสุนัขที่มีอาการเบ่งคลอด แต่หากเบ่งแล้วยังไม่คลอดเสียทีร่วมกับมีอาการอื่น เช่น เซื่องซึม อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเบ่ง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงอันตรายที่แม่สุนัขอาจคลอดเองไม่ได้ ซึ่งจะต้องมีการประเมินอย่างรวดเร็วและตัดสินใจที่จะพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
สิ่งที่เจ้าของต้องรู้ เกี่ยวกับการตั้งท้องในสุนัข
หากคุณเป็นคนเลี้ยงสุนัข เมื่อสุนัขตั้งท้องและใกล้คลอด หรือมีอาการต่างๆ เยวกับการคลอด เพื่อให้สามารถรับมือรู้ทันอาการแต่ละอย่างได้แบบไม่มีบกพร่อง คุณสามารถศึกษาเรื่องควรรู้ต่างๆ เหล่านี้ได้เลย
ระยะเวลาที่สุนัขตั้งท้อง นานไหม?
โดยทั่วไปแล้ว สุนัขจะตั้งท้องโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 9 สัปดาห์ หรือประมาณ 2 เดือนนิดๆ ซึ่งถือว่าใช้เวลาน้อยกว่าระยะเวลาในการตั้งท้องของมนุษย์ ซึ่งสุนัขจะสามารถตั้งท้องได้เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ซึ่งสุนัขตัวผู้และตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ไม่เหมือนกัน โดยสุนัขตัวเมียจะเริ่มวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ 6-9 เดือน ส่วนตัวผู้จะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ประมาณ 10 เดือน
คำนวณวันคลอดสุนัขได้หรือไม่?
ผู้เลี้ยงสามารถคาดคะเนวันกำหนดคลอดของสุนัขได้ ซึ่งการคำนวณวันคลอดของแม่สุนัขจะช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถเตรียมตัว เตรียมใจ และจัดสรรเวลาเพื่อมาดุแลสุนัขในวันคลอดได้ โดยการคำนวณวันคลอดสามารถดุได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้
– คำนวณจากวันผสม ผู้เลี้ยงจะต้องทำการจดบันทึกวันที่สุนัขผสมพันธุ์เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณวันคลอด โดยนับจากวันที่ผสมไป 60 วัน และบวกลบประมาณ 5 วัน ก็จะเป็นกำหนดการคลอดอย่างคร่าวๆ
– หากไม่ทราบวันผสม โดยเพิ่งมารู้เอาเมื่อตอนที่สุนัขตั้งท้องแล้ว หรือเจ้าของสังเกตการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของสุนัขที่เลี้ยงอยู่แล้วสงสัยว่าตั้งท้อง ให้พาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการอัลตราซาวด์และแพทย์จะคำนวณวันคลอดโดยประมาณให้อาการที่บ่งบอกว่าสุนัขใกล้จะคลอด เป็นอย่างไร?
เมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด แม่สุนัขจะมีอาการที่แสดงให้ผู้เลี้ยงรู้ว่า ใกล้จะถึงเวลาที่ลูกสุนัขตัวน้อยๆ จะออกมาดูโลกแล้ว โดยอาการที่สามารถสังเกตได้ก็คือ มีอาการกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข เริ่มเก็บตัว กินอาหารได้น้อยลง และเริ่มหาที่คลอดดโดยการคุ้ยเขี่ยที่นอน รวมทั้งบางตัวจะมีเต้านมคัดซึ่งเมื่อบีบดูจะมีน้ำนมไหลออกมา ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวต่อไปนี้ผู้เลี้ยงก็ต้องรู้ว่าควรเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดของสุนัขได้เลย
อาการที่แม่สุนัขกำลังจะคลอด
– เมื่อครบกำหนดคลอด แม่สุนัขจะมีอาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่บ่งบอกว่ากำลังจะคลอดแล้วดังต่อไปนี้
– เมื่อสังเกตที่ช่องคลอดจะมีเมื่อกลื่นๆ ไหลออกมา เมื่อจับดูจะรู้สึกว่ามีการบวมโตและนุ่ม
– น้ำที่ไหลออกมาจากอวัยวะเพศอาจเกิดจากถุงน้ำคร่ำแตก หากมีน้ำดังกล่าวไหลออกมา แม่สุนัขจะเริ่มทำการเบ่งคลอดลูกสุนัขออกมาภายใน 30 นาทีไปจนถึง 1 ชั่วโมง
– ลูกสุนัขจะคลอดออกมาโดยโผล่หัวและขาหน้าออกมาก่อน และมีถุงหุ้มเหนียวๆ อยู่รอบตัว ซึ่งแม่สุนัขจะต้องทำการกัดถุงให้ฉีกออกและทำการเลียตัวลูกสุนัข หากแม่สุนัขไม่ได้ทำหรืออ่อนเพลียจนไม่สามารถทำเองได้ ผู้เลี้ยงต้องทำการช่วยเหลือมิเช่นนั้นลูกสุนัขอาจจะตายได้
– เมื่อแม่สุนัขคลอดลูกสุนัขออกมาแล้ว ก็จะมีระยะขับรกซึ่งเป้นการขับรกที่ตกค้างอยู่ออกมาพร้อมกับน้ำคร่ำที่ตกค้างอยู่ในมดลูก ซึ่งแม่สุนัขอาจทำการกินหรือเลียเข้าไปพร้อมๆ กับการเลียตัวลูกสุนัข
สิ่งผิดปกติในการคลอดที่ผู้เลี้ยงสุนัขจะต้องระวัง
กระบวนการคลอดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นกระบวนการปกติที่เกิดขึ้นได้เมื่อสุนัขคลอดลูก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ทุกตัวที่จะสามารถคลอดลูกได้อย่างราบรื่น ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะที่แม่สุนัขคลอด เพื่อที่จะได้รีบทำการแก้ไขหรือพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือก่อนที่สุนัขจะเป็นอันตรายได้
อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว แต่ลูกสุนัขยังไม่คลอดออกมาภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งหากน้ำคร่ำแตกแล้วแม่สุนัขยังไม่คลอดลูกเป็นเวลากว่า 24 ชั่วโมง จับดูท้องแล้ว สุนัขใกล้คลอด มีอาการท้องแข็ง ต้องรีบพาไปหาสัตวแพทย์โดยด่วนเพราะอาจมีภาวะคลอดยาก หากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายทั้งแม่และลูกสุนัข
นอกจากนี้ ในสุนัขพันธุ์เล็ก หากสุนัขใกล้คลอด มีอาการท้องแข็ง ผุ้เลี้ยงจะต้องมีความระมัดระวังให้มาก เพราะอาจเกิดภาวะคลอดยากโดยมีสาเหตุมาจากลูกสุนัขมีขนาดใหญ่ หรือเชิงกรานของแม่สุนัขเล็กและแคบจนลูกสุนัขไม่อาจผ่านออกมาและคลอดได้เอง ซึ่งการดูแลและป้องกันนั้นสามารถเริ่มได้ตั้งแต่เมื่อสุนัขตั้งท้อง โดยการพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อเตรียมตัวเนื่องจากสุนัขพันธุ์เล็กนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะคลอดยากได้มากกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่
วิธีดูแลสุนัขใกล้คอลดให้มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยทั้งแม่และลูก
เมื่อได้รู้ว่าสุนัขใกล้คลอด มีอาการอย่างไร และรู้วิธีการคาดคะเนวันคลอดที่ใกล้เคียงมากที่สุด จะทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเตรียมความพร้อมได้ก่อนล่วงหน้าเพื่อที่จะทำให้แม่สุนัขสามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด ซึ่งการรู้จักสังเกตความผิดปกติในระหว่างการคลอดอย่างสุนัขใกล้คลอด มีอาการท้องแข็ง ที่อาจบ่งบอกถึงภาวะคลอดยากหรือคลอดเองไม่ได้ ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้แม่สุนัขเกิดอันตรายในระหว่างคลอดได้เพราะจะได้พาไปพบสัตวแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันเวลา ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องมีวิธีการเตรียมตัวก่อนลูกสุนัขคลอดเพื่อความปลอดภัยทั้งแม่และลูกสุนัขด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
การตรวจร่างกายแม่สุนัขก่อนคลอดนั้นสำคัญ!
เมื่อรู้ว่าสุนัขสุดที่รักเริ่มตั้งท้อง เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูกสุนัขในครรภ์ ผู้เลี้ยงจะต้องพาแม่สุนัขไปฝากท้องที่โรงพยาบาลสัตว์หรือคลีนิกเพื่อที่จะได้ทำการตรวจร่างกายว่าแม่สุนัขมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงหรือไม่, มีความผิดปกติใดๆ ในการตั้งท้องหรือเปล่า รวมถึงจะได้รู้ว่าลูกสุนัขในท้องมีอยู่ด้วยกันกี่ตัว มีสุภาพแข็งแรงหรือมีความผิดปกติใดๆ หรือไม่ ซึ่งการตรวจร่างกายนั้น สัตวแพทย์จะทำการตรวจโดย
อัลตราซาวด์และตรวจร่างกายเบื้องต้น
เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของแม่สุนัขและทำการอัลตราซาวด์ช่องท้อง ที่สามารถเห็นถุงตัวอ่อนที่มีลูกสุนัขอยู่ภายใน แต่หากยังท้องได้ไม่นานที่ยังไม่เห็นถุงตัวอ่อน แพทย์ก็จะนัดตรวจอัลตราซาวด์เพิ่มเติมในรอบต่อไป และการอัลตราซาวด์ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับแม่สุนัขพันธุ์เล็กเพราะมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดภาวะคลอดยากหรือคลอดเองไม่ได้เนื่องจากเชิงกรานเล็กหรือลูกสุนัขตัวโตเกินไป ทีมแพทย์จะได้เตรียมวางแผนการดูแลเอาไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้การอัลตราซาวด์ก็ยังจะทำให้มองเห็นอัตราการเต้นหัวใจของลูกสุนัข ที่จะทำให้รู้ว่าลูกสุนัขยังมีชีวิตอยู่กี่ตัว จะได้เตรียมแผนในการดูแลได้
เอ็กซ์เรย์เมื่อแม่สุนัขมีอายุครรภ์ราว 45 วัน
เพื่อที่จะได้รู้จำนวนของลูกสุนัขอย่างแม่นยำว่ามีทั้งหมดกี่ตัว เพื่อที่ผู้เลี้ยงจะสามารถเตรียมอุปกรณ์และของจำเป็นต่างๆ สำหรับการคลอดของแม่สุนัขและลูกสุนัขที่จะลืมตาดูโลกได้อย่างครบครัน
วิธีดูแลในระหว่างที่แม่สุนัขตั้งท้อง
การเลี้ยงดูแม่สุนัขในช่วงที่กำลังตั้งท้องนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องดูแลในเรื่องของสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียมที่จะช่วยบำรุงลูกสุนัขที่อยู่ในท้องให้แข็งแรง อีกทั้งยังจะช่วยบำรุงร่างกายของแม่สุนัขให้พร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกและการให้นม
นอกจากนี้ก็ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น แม่สุนัขมีอาการท้องแข็งผิดปกติ ทั้งที่ยังไม่ใช่ช่วงใกล้คลอด ซึ่งอาจจะต้องพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายและอัลตราซาวด์ว่ามีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่
เตรียมความพร้อมสำหรับวันคลอด
เตรียมสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับแม่สุนัข ปุด้วยผ้าหรือกระสอบนุ่มๆ ที่ไม่ใช้งานแล้ว เนื่องจากแม่สุนัขมักจะทำการกัดผ้าเพื่อเตรียมที่คลอดของตนเอง รวมทั้งจัดสถานที่ให้มีความมืดและสงบ เพื่อที่แม่สุนัขจะได้รู้สึกปลอดภัยเมื่อทำการคลอด
เตรียมกล่องหรือที่นอนสำหรับลุกสุนัขที่คลอดออกมา หรือเป็นคอกเล็กๆ ที่สามารถปิดได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสุนัขปีนออกมาก่อนถึงเวลาที่เหมาะสม
วิธีดูแลแม่และลูกสุนัขหลังคลอด
- คอยสังเกตอาการของแม่สุนัขในระหว่างคลอด ว่าเมื่อน้ำคร่ำแตกแล้ว มีการคลอดลูกออกมาภายใน 30 นาที-1ชั่วโมงหรือไม่ หากเว้นระยะการคลอดลูกที่นานเกินไป อาจเกิดจากการที่แม่สุนัขเกิดอาการล้าจนไม่สามารถคลอดเองได้ หรือลูกสุนัขในท้องมีตัวโตเกินไปจนไม่สามารถผ่านออกมาได้ เมื่อจับดูท้องจะแข็งแต่ไม่มีการเบ่งออกมา เมื่อเกิดภาวะนี้ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือ
- หากแม่สุนัขคลอดออกมาได้ปกติดี ต้องคอยดูแลว่าแม่สุนัขทำการกัดเยื่อหุ้มลูกออกและเลียตัวให้ลูกหรือไม่ หากแม่สุนัขออ่อนแรงจนไม่ได้ทำอะไร ผู้เลี้ยงต้องให้การช่วยเหลือโดยการแกถุงเยื่อหุ้มลูกสุนัขออก จากนั้นใช้ลูกยางดูดเมือกออกจากปากและจมูกให้ลูกสุนัขมีทางเดินหายใจที่โล่งขึ้นและสามารถหายใจได้เอง ทำการเช็ดตัวลูกสุนัขเบาๆ เหมือนกับแม่สุนัขกำลังเลียตัวลูก หรือส่งให้แม่สุนขทำการเลียตัวลูกเอง
- ดูแลให้ลูกสุนัขได้ดูดดนมแม่หลังคลอดออกมาภายใน 1-3 ชั่วโมง หากแม่สุนัขไม่ยอมให้ลูกดูดนม อาจจะต้องป้อนนมให้ลูกสุนัขกินแทนเพื่อที่จะได้รับสารอาหารเพียงพอเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นโดยเร็วที่สุด
การศึกษาหาความรู้เพื่อเตรียมตัวดูแลช่วงสุนัขตั้งท้องและใกล้คลอด จะทำให้ผู้เลี้ยงคลายความกังวลใจและมีความมั่นใจในการดูแลสุนัขในช่วงใกล้คลอดได้มากขึ้น ซึ่งการที่สุนัขใกล้คลอด มีอาการท้องแข็ง อาจเป็นได้ทั้งแรงเบ่งจากแม่สุนัขเอง แต่หากมีอาการท้องแข็งที่นานเกินไปและแม่สุนัขเริ่มมีอาการเซื่องซึม อ่อนแรง ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจหาอาการผิดปกติที่อาจจะเป็นอันตรายต่อไป
อ่านเรื่องราวสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม