สุนัขช่วงตั้งท้องต้องได้รับการดูแลและสังเกตจากเจ้าของมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่สุนัขมีความเสี่ยงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะช่วงที่กำลังจะคลอดหรือหลังจากที่ สุนัขถุงน้ำคร่ำแตก แล้ว เพื่อความปลอดภัยของแม่สุนัขและลูกสุนัขที่อยู่ในท้องนั่นเอง ซึ่งการดูแลแม่สุนัขที่ถุงน้ำคร่ำแตกมีความสำคัญและขั้นตอนดังนี้
สุนัขถุงน้ำคร่ำแตก มีอาการอย่างไร ควรดูแลอย่างไรให้ถูกต้อง
สุนัขจะมีการตั้งท้องประมาณ 2 เดือนหรือ 61-63 วัน ซึ่งเมื่อสุนัขพร้อมที่จะคลอดแล้วถุงน้ำคร่ำของแม่สุนัขจะแตกออก ทำให้มีของเหลวสีดำไหลออกมาจากช่องคลอด หากเจ้าของสังเกตเห็นว่าสุนัขถุงน้ำคร่ำแตกจะต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด โดยขั้นตอนการดูแลสุนัขที่ใกล้คลอดแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ
1. การเตรียมตัวก่อนคลอด
สำหรับเจ้าของที่มีสุนัขตั้งท้องอยู่จะต้องเตรียมตัวเพื่อเป็นหมอตำแยจำเป็นไว้ด้วย เพราะหากในช่วงที่แม่สุนัขกำลังจะคลอด แต่แม่สุนัขไม่สามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติ เจ้าของจะต้องเป็นผู้ช่วยทำคลอดนั่นเอง โดยสิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับทำคลอดแม่หมา คือ
- ผ้าสะอาดที่แห้งใช้สำหรับเช็ดตัวลูกสุนัข
- กรรไกรที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ใช้สำหรับตัดสายสะดือลูกสุนัข
- ด้ายหรือเชือกเส้นเล็ก ๆ ใช้สำหรับผูกสายสะดือลูกสุนัข
- น้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
- ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือเบตาดีน
- ปรอทวัดอุณหภูมิใช้สำหรับวัดอุณหภูมิสุนัขว่าใกล้คลอดหรือยัง
- ลูกยางหรือที่ดูดน้ำมูกของเด็กอ่อนใช้สำหรับดูดน้ำคร่ำ
การเตรียมพื้นที่ทำคลอดสุนัข เมื่อมีอาการถุงน้ำคร่ำแตก
นอกจากการเตรียมอุปกรณ์สำหรับช่วยทำคลอดสุนัขถุงน้ำคร่ำแตกที่จะคลอดแล้ว เจ้าของยังต้องทำการเตรียมพื้นที่สำหรับคลอดลูกให้กับแม่สุนัขด้วย ซึ่งลักษณะของพื้นที่ทำคลอดให้กับสุนัขจะต้องมีลักษณะดังนี้
- กล่องหรือพื้นที่สำหรับคลอด สุนัขส่วนมากชอบที่จะอยู่ในพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น ดังนั้นจึงควรเตรียมกล่องหรือเตียงที่ปูด้วยผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอนหรือหนังสือพิมพ์ด้านล่างสำหรับเป็นที่นอนของแม่สุนัข
- พื้นที่คลอดต้องอยู่ในจุดที่เงียบ ไม่มีการรบกวนจากคนหรือสุนัขตัวอื่น
โดยพื้นที่คลอดนี้สามารถเตรียมให้แม่สุนัขทำการนอนในช่วงที่ท้องก็ได้ เพื่อให้สุนัขทำความคุ้นเคยกับพื้นที่และรู้สึกปลอดภัยเวลาที่จะคลอดลูกนั่นเอง
2. การดูแลสุนัขถุงน้ำคร่ำแตกที่กำลังคลอด
ก่อนที่สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกจะแตก สุนัขจะมีอาการบ่งบอกว่าเข้าสู่ช่วงการคลอดอย่างเด่นชัด ซึ่งเจ้าของสามารถสังเกตได้ ซึ่งการคลอดของสุนัขสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1: เป็นช่วงที่ปากมดลูกของสุนัขเริ่มมีการขยาย พร้อมทั้งมีการบีบตัวของมดลูก ซึ่งช่วงนี้แม่สุนัขจะมีอาการปวดท้อง ทำให้แม่สุนัขมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย เดินไปทั่ว หอบ สั่น ไม่กินอาหารและทำการคุ้ยผ้าปูที่นอน แม่สุนัขจะมีอาการของระยะที่ 1 ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ช่วงนี้เจ้าของจะต้องทำการหาพื้นที่เงียบ ๆ และปล่อยให้แม่สุนัขอยู่ตามลำพัง อย่าเข้าไปรบกวน เพราะจะทำให้แม่สุนัขย้ายที่ไปที่อื่น
ระยะที่ 2: เป็นช่วงที่มดลูกเกิดการบีบตัวแบบเต็มที่ส่งผลให้สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกจึงมีของเหลวที่อยู่ในมดลูกไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งระยะที่ 2 จะมีอาการประมาณ 30 -60 นาที และหลังจากที่แม่สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว ลูกสุนัขที่อยู่ภายในท้องจะถูกบีบออกมาจากมดลูกและเคลื่อนตัวออกมาที่ปากช่องคลอด โดยลูกสุนัข 1 ตัวจะใช้เวลาในการคลอดประมาณ 15 นาที สำหรับการคลอดตามธรรมชาติหลังจากที่ลูกสุนัขออกมาจากท้องแม่ แม่สุนัขจะทำการกัดถุงน้ำคร่ำและสายรกให้ขาด และเลียทำความสะอาด พร้อมทั้งกระตุ้นให้ลูกหายใจด้วยตัวเอง
ซึ่งในช่วงนี้หากแม่สุนัขมีอาการอ่อนเพลีย บางตัวกัดถุงน้ำคร่ำไม่ขาด ดังนั้นเจ้าของจะต้องทำการช่วยแม่สุนัขทำการฉีกถุงน้ำคร่ำให้ขาดและดึงตัวลูกสุนัขออกมา พร้อมรับบทเป็นหมอตำแยทำการเช็ดตัวลุกสุนัขให้สะอาด นำด้ายหรือเชือกที่เตรียมไว้มามัดที่สายสะดือ และตัดด้วยกรรไกร โดยมีความยาวเหลือประมาณ 1 นิ้ว พร้อมทั้งทิงเจอร์ไอโอดีนหรือเบตาดีนที่แผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อให้กับลูกสุนัข
ระยะที่ 3: เป็นระยะสุดท้ายของการคลอดลูกสุนัขแต่ละตัว โดยเป็นช่วงที่ร่างกายของแม่สุนัขจะทำการขับของเหลวและรกของลูกสุนัขที่คลอดออกมาให้หมด ถือเป็นช่วงการพักมดลูกและพื้นฟูแรงของแม่สุนัข ก่อนที่จะทำการเบ่งลูกสุนัขตัวต่อไป ซึ่งระยะที่ 3 นี้จะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีต่อครั้ง
ที่กล่าวมานี้คือระยะการคลอดของแม่สุนัขที่มีการคลอดตามธรรมชาติ หรือสามารถคลอดได้เองหลังจากที่สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกนั่นเอง
3. การดูแลหลังคลอด
การดูแลหลังคลอดจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
3.1 การดูแลแม่สุนัข
สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกที่ผ่านการคลอดลูกจะมีอาการเพลีย เนื่องจากการเสียเลือดจากการคลอด ดังนั้นเมื่อคลอดเสร็จแล้ว เจ้าของจะต้องป้องกันไม่ให้สุนัขตัวอื่นหรือคนอื่น ๆ เข้าไปรบกวนแม่สุนัข ถึงแม้ว่าจะเข้าไปด้วยความหวังดีก็ตาม เพราะแม่สุนัขจะมีสัญชาตญาณห่วงใยลูก ทำให้เมื่อมีคนหรือสุนัขตัวอื่นเข้าไป มันจะมีความระแวงจึงพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ แม้จะอ่อนเพลียมากก็ตาม สำหรับเรื่องอาหารแล้ว หากแม่สุนัขทำการกัดถุงน้ำคร่ำ รกและทำความสะอาดลูกด้วยตัวเอง แม่สุนัขจะอิ่มและไม่อยากอาหาร แต่ควรเตรียมน้ำไว้ด้วย เพราะร่างกายแม่สุนัขจะต้องการน้ำมากจากการเสียเลือดระหว่างการคลอดนั่นเอง
3.2 การดูลูกสุนัข
ลูกสุนัขที่คลอดออกมา สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกจะทำความสะอาด หากตัวของลูกสุนัขยังไม่แห้งดี เจ้าของจะต้องทำการเช็ดตัวให้แห้ง เพื่อป้องกันความชื้นและสิ่งสกปรกติดตามตัวของลูกสุนัข และให้เจ้าของนำลูกสุนัขไปเข้าเต้านมเพื่อดูดนมแม่หลังจากที่คลอดออกมาแล้วภายใน 12-16 ชั่วโมง เนื่องจากน้ำนมที่ออกมาจากนมแม่ครั้งแรกเป็นน้ำนมสีเหลืองซึ่งเป็นน้ำนมที่มีคุณภาพสูง ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับลูกสุนัขได้เป็นอย่างดี และเจ้าของควรทำการชั่งน้ำหนักแรกเกิดของลูกสุนัข สำหรับเป็นข้อมูลดูพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของลูกสุนัขต่อไป
จะเห็นว่าการดูแลและทำคลอดสุนัขถุงน้ำคร่ำแตกนั้นไม่ยาก ซึ่งเป็นเฉพาะแม่สุนัขที่สามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติเท่านั้น ถ้าเป็นแม่สุนัขที่ไม่สามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติเจ้าของจะต้องรีบพาแม่สุนัขไปพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของแม่สุนัขและลูกสุนัขที่อยู่ในท้อง
อาการของแม่สุนัขถุงน้ำคร่ำแตก แต่คลอดเองไม่ได้!
ตามธรรมชาติของแม่สุนัขส่วนมากจะสามารถคลอดลูกเองตามธรรมชาติได้ แต่ก็มีบางสายพันธุ์หรือบางกรณีที่แม่สุนัขไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้ ซึ่งแม่สุนัขจะมีอาการดังนี้
- สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกจะทำการการเบ่งรุนแรงติดต่อกันมากว่า 30 นาที แต่ลูกสุนัขก็ยังไม่ออกที่บริเวณปากช่องคลอด
- ตั้งแต่เริ่มต้นการคลอดจนน้ำคร่ำแตกใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ลูกสุนัขยังไม่ออกมาจากช่องคลอดแม้แต่ตัวเดียวหรือลูกสุนัขตัวที่สองยังไม่ออกมา ในกรณีที่เจ้าของได้ทำการตรวจแล้วว่ามีลูกสุนัขมากกว่า 1 ตัว
- ลูกสุนัขออกมาแต่ค้างอยู่ที่ปากช่องคลอดนานกว่า 15 นาที และไม่ยอมหลุดออกมาจากปากช่องคลอด
- แม่สุนัขมีการตั้งท้องนานกว่า 66 วัน ซึ่งจะต้องทำการนับจากวันตกไข่และได้รับการผสมพันธุ์ เพราะลูกสุนัขที่มีอายุมากจะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าปกติ
- บริเวณปากช่องคลอดมีของเหลวสีเขียวเข้ม หรือมีเลือดออกจากปากช่องคลอดมากกว่าปกติ
หากสุนัขถุงน้ำคร่ำแตกมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น แสดงว่าแม่สุนัขอยู่ในภาวะคลอดยาก ไม่สามารถทำการคลอดเองตามธรรมชาติได้ เจ้าของจะต้องรับพาแม่สุนัขพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการช่วยทำคลอดให้ต่อไป
สาเหตุที่สุนัขถุงน้ำคร่ำแตก แต่ไม่คลอดลูกออกมา
แม่สุนัขบางตัวไม่สามารถคลอดเองได้ตามธรรมชาติ ทำให้เจ้าของจะต้องพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อช่วยทำคลอดให้กับลูกสุนัขที่อยู่ในท้อง ให้คลอดมาได้ปลอดภัยทั้งแม่สุนัขและลูกสุนัข โดยเฉพาะแม่สุนัขถุงน้ำคร่ำแตก แต่ยังไม่คลอดลูกออกมา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สุนัขคลอดยากก็มีดังนี้
มดลูกล้า
คือ อาการที่มดลูกของแม่สุนัขไม่มีการบีบรัดเพื่อเบ่งเอาลูกสุนัขออกมาจากมดลูก ส่งผลให้แม่สุนัขมีความเครียดและความเมื่อยล้ามดลูก จึงไม่สามารถคลอดลูกออกมาได้ ส่วนมากอาการมดลูกล้าจะเกิดในแม่สุนัขที่ไม่ค่อยแข็งแรงจึงไม่สามารถเบ่งคลอดลูกสุนัขออกมาได้หรือแม่สุนัขที่มีลูกเป็นจำนวนมาก เมื่อคลอดลูกตัวท้ายจะเกิดภาวะหมดแรง ไม่มีแรงเบ่งลูกนั่นเอง
คลอดผิดท่า
ท่าของลูกสุนัขที่คลอดง่าย คือ ท่านอนคว่ำเอาหน้าพุ่งออก แขนขาแนบกับลำตัว แต่ถ้าสุนัขหันเอาก้นหรือนอนหงายจะคลอดยาก
ตัวลูกมีขนาดใหญ่เกินไป
สำหรับแม่สุนัขสายพันธุ์เล็กหรือแม่สุนัขที่ได้รับการบำรุงเป็นอย่างดี จนทำให้ลูกสุนัขที่อยู่ในท้องมีขนาดที่ใหญ่มาก ทำให้เมื่อสุนัขถุงน้ำคร่ำแตกจะคลอดลูกสุนัขออกมาได้ยาก
เชิงกรานแคบ
แม่สุนัขบางสายพันธุ์จะมีเชิงกรานแคบ ดังนั้นเมื่อเกิดตั้งท้องแล้วจะทำให้ไม่สามารถคลอดลูกออกมาได้ เนื่องจากเชิงกรานจะขวางลูกสุนัขในท้อง ทำให้ไม่สามารถคลอดได้
เคยประสบอุบัติเหตุ
แม่สุนัขบางตัวที่เคยได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับเชิงกราน ทำให้กระดูกส่วนเชิงกรานมีลักษณะที่ผิดปกติ ซึ่งความผิดปกตินี้จะส่งผลให้สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกจึงไม่สามารถเบ่งคลอดได้เองตามธรรมชาติหรือเกิดภาวะคลอดยาก
ท้องแรก
แม่สุนัขที่ตั้งท้องแรก กระดูกเชิงกรานและมดลูกยังไม่แข็งแรงและต้องรองรับน้ำหนักของลูกสุนัข ทำให้โอกาสที่มดลูกของแม่สุนัขจะเกิดอาการล้าหรืออ่อนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะคลอดยาก
ปัจจัยด้านพันธุกรรม
สุนัขที่ได้รับการผสมพันธุ์จากแม่สุนัขที่มีประวัติคลอดยากหรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ อย่าง มดลูกอักเสบ จะมีโอกาสเกิดภาวะคลอดยากได้มากกว่าสุนัขที่ได้รับการผสมจากแม่สุนัขที่ไม่มีประวัติดังกล่าว ดังนั้นหากต้องการผสมพันธุ์แม่สุนัขควรคัดเลือกแม่สุนัขที่ไม่เคยมีประวัติการป่วยหรือคลอดยากจะดี
จะเห็นว่าเมื่อแม่สุนัขถุงน้ำคร่ำแตกแสดงว่าแม่สุนัขเข้าสู่ภาวะพร้อมที่จะคลอดลูกสุนัขออกมาแล้ว ดังนั้นเจ้าของจะต้องทำการดูแลอย่างใกล้ชิดและคอยช่วยเหลือ หากถุงน้ำคร่ำของแม่สุนัขแตกแล้ว แต่เวลาผ่านไปมากกว่า 4 ชั่วโมง ลูกสุนัขยังไม่คลอดออกมา เจ้าของควรรีบพาแม่สุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อช่วยทำคลอดโดยด่วน เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของแม่และลูกสุนัขให้ปลอดภัย
อ่านเรื่องราวสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม