• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

Box Meaww

บ๊อก ๆ เหมียว ๆ รอบรู้เรื่องสัตว์เลี้ยง

  • Home
  • น้องหมา
    • ไซบีเรียน ฮัสกี้
  • น้องแมว
  • น้องต่าย
  • เรื่องราวอื่น ๆ
Home » สุนัขท้องกี่เดือน ร่างกายในแต่ละช่วงสัปดาห์เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

สุนัขท้องกี่เดือน ร่างกายในแต่ละช่วงสัปดาห์เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

July 28, 2021 by Admin Meaww Leave a Comment

สุนัขท้องกี่เดือน ร่างกายในแต่ละช่วงสัปดาห์เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าลูกสุนัขตัวน้อยๆ เป็นสิ่งที่สร้างความตื่นเต้นและนำความสุขมาให้กับคนเลี้ยงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเริ่มต้นเลี้ยงสุนัข เจ้าของหรือผู้เลี้ยงจะมีการบำรุงเลี้ยงอย่างดี จนเมื่อถึงวันหนึ่งที่สุนัขแสนรักของคุณเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ที่ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นสังเกตว่าสุนัขเริ่มตั้งท้องหรือยัง ซึ่งผู้เลี้ยงมือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าสุนัขท้องกี่เดือน และสุนัขท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เรามีคำตอบให้คุณแล้วในบทความนี้

Contents hide
1 สุนัขท้องกี่เดือน คนเลี้ยงสุนัขมือใหม่ต้องรู้ !
2 การเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาการตั้งครรภ์ของสุนัข
2.1 Related

สุนัขท้องกี่เดือน คนเลี้ยงสุนัขมือใหม่ต้องรู้ !

สุนัขท้องกี่เดือน

คนเลี้ยงสุนัขมือใหม่ที่มีใจรักในการเลี้ยงสุนัข แต่ยังไม่รู้ว่าการดูแลสุนัขท้องจะต้องทำอย่างไร เราจะมาแนะนำให้คุณได้รู้ว่าสุนัขท้องกี่เดือน และมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างไรบ้าง โดยสุนัขจะเริ่มเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์และพร้อมผสมพันธุ์ได้ในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์เล็กก็อาจจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เร็วกว่านั่นก็คือ อายุประมาณ 4 เดือน ส่วนสุนัขพันธุ์ใหญ่อาจจะเข้าสู่ระยะเวลาพร้อมผสมพันธุ์หรือติดสัดครั้งแรกเมื่อช่วงอายุ 12-16 เดือน ซึ่งยิ่งเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีระยะเวลาในการติดสัดครั้งแรกนานขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงจึงต้องพิจารณาดูว่าสุนัขที่เลี้ยงอยู่นั้นเป็นพันธุ์ไหน เพื่อที่จะได้ประมาณการณ์ได้ว่าสุนัขจะเริ่มผสมพันธุ์และตั้งท้องได้เมื่ออายุเท่าไหร่

เมื่อมีการผสมพันธุ์เกิดขึ้นแล้ว สุนัขจะตั้งท้องได้ประมาณ 62-64 วันหรือประมาณ 2 เดือน ใครที่อยากรู้ว่าสุนัขท้องกี่เดือน นี่คือ คำตอบที่คุณควรรู้เอาไว้ แต่ทั้งนี้สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ได้ให้ความเห็นว่าการคาดคะเนระยะเวลาในการคลอดอาจทำได้ยาก เพราะวันที่ผสมพันธุ์ไม่ตรงกับวันที่ตั้งครรภ์เสมอไป ดังนั้น ระยะเวลาของการตั้งครรภ์อาจแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ของสุนัข แต่ทั้งนี้สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ให้คำแนะนำว่าไม่ควรให้สุนัขผสมพันธุ์จนกว่าจะมีอายุประมาณ 2 ปี เพราะช่วงเวลาเหมาะสมที่สุนัขจะตั้งท้องและเลี้ยงดูลูกได้ดีจะอยู่ที่ช่วงอายุ 2-5 ปี

แพทย์ได้อธิบายว่าในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไข่ที่ปฏิสนธิจะเดินทางไปยังปีกมดลูก ซึ่งพวกมันจะฝังตัวเองในเยื่อบุภายในประมาณ 15-18 วัน การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นไปอย่างรวดเร็วในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และจะเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 7 วัน ภายในสิ้นเดือนแรก สัตวแพทย์สามารถตรวจจับการเต้นของหัวใจของลูกสุนัขในครรภ์ได้ และการพัฒนาจะเร็วขึ้นในเดือนที่ 2 เมื่อตัวอ่อนพัฒนาเป็นลูกสุนัข เมื่อสิ้นเดือนที่ 2 และต้นเดือนที่ 3 ลูกสุนัขก็พร้อมที่จะลืมตาออกมาดูโลกแล้ว

การเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาการตั้งครรภ์ของสุนัข

สุนัขท้องกี่เดือน

กระบวนการตั้งท้องของสุนัขนั้น จะเริ่มตั้งแต่เมื่อมีการผสมพันธุ์กันของสุนัขตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งการคาดการณ์ระยะเวลาในการตั้งครรภ์โดยดูจากวันที่ผสมพันธุ์อาจมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย เพราะในการผสมพันธุ์เชื้ออสุจิสามารถอยู่รอดในมดลูกได้นานถึง 7 วัน ซึ่งการปฏิสนธิอาจเกิดขึ้นหลังจากผสมพันธุ์หลายวัน ดังนั้น หากผู้เลี้ยงต้องการเพิ่มโอกาสของการตั้งท้องอาจให้มีการผสมพันธุ์ 2 ครั้ง โดยมีช่วงเวลาและอาจใช้ชุดตรวจเลือดโปรเจสเตอโรนสำหรับสุนัขตัวเมียเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมของการเจริญพันธุ์สำหรับสุนัขตัวเมียก่อนที่จะพาไปผสมพันธุ์

หลังจากการผสมพันธุ์แล้ว ผู้เลี้ยงควรดูแลให้สุนัขได้รับการพักผ่อนอย่างพอดี พยายามไม่ให้เกิดความเครียดมากเกินไป ซึ่งในช่วงแรกสามารถดูแลได้ตามปกติ โดยยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักหรือให้อาหารเสริมเพื่อบำรุงกว่าปกติ และการเปลี่ยนแปลงของสุนัขในแต่ละช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ จะมีดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 : วันที่ 0 – 7

ในช่วงนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก สุนัขของคุณจะยังดูเป็นปกติ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง แต่ฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ยังไม่ถูกสร้างขึ้น ดังนั้น หากเจ้าของมือใหม่อยากตรวจการตั้งครรภ์ของสุนัขในช่วงนี้จึงไม่มีประโยชน์ เพราะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ

สัปดาห์ที่ 2 : วันที่ 8 – 14

ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่ชื่อโปรเจสเตอโรนจะเริ่มสูงขึ้น ผู้เลี้ยงอาจสังเกตเห็นว่าขนของสุนัขมีความนุ่มฟูและเงางามมากขึ้น สุนัขบางตัวจะเริ่มมีอาการง่วงนอนมากขึ้นหรือหงุดหงิด แต่บางตัวก็อาจจะยังไม่แสดงอาการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในระยะนี้เจ้าของยังไม่ต้องเพิ่มปริมาณอาหาร เพราะหากน้ำหนักตัวเพิ่มเร็วเกินไปในระยะแรกอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในการคลอดได้

สัปดาห์ที่ 3 : วันที่ 15 – 21

ในช่วงนี้หัวนมของสุนัขจะมีสีชมพูมากขึ้น พร้อมกับมีขนาดที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยในช่วงนี้ยังสามารถให้สุนัขออกกำลังกายได้ตามปกติ ส่วนเรื่องอาหารก็อาจจะเพิ่มสารอาหารประเภทโปรตีนและวิตามินให้มากขึ้น แม่สุนัขอาจมีอาการอยากอาหารเพิ่มขึ้นซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณให้ได้ตามที่ต้องการ

สัปดาห์ที่ 4 : วันที่ 22 – 28

ลูกสุนัขในท้องจะเริ่มพัฒนาไขสันหลังและกำลังพัฒนาร่างกายในส่วนต่างๆ ในตอนนี้สัตวแพทย์สามารถเห็นทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนาได้จากการสแกนอัลตราซาวนด์

สัปดาห์ที่ 5 : วันที่ 29 -35

ตั้งแต่วันที่ 28 จะสามารถตรวจเลือดเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ได้ ในช่วงนี้สัตวแพทย์จะสามารถคลำเจอลูกสุนัขในถุงน้ำคร่ำเนื่องจากขนาดตัวเริ่มโตมากขึ้นแล้ว

สัปดาห์ที่ 6 : วันที่ 36 – 42

ในช่วงเวลานี้แม่สุนัขบางตัวจะเริ่มมีอาการแพ้ท้องและอาเจียนเป็นบางครั้ง และบางตัวอาจมีมูกสีขาวที่ช่องคลอด ท้องขยายขนาดมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและต่อมน้ำนมที่ขยายใหญ่ขึ้น ผู้เลี้ยงสามารถเปลี่ยนอาหารปกติเป็นอาหารลูกสุนัข เพื่อเพิ่มแคลอรี โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ

สัปดาห์ที่ 7 : วันที่ 43 – 49

ตอนนี้ลูกสุนัขจะมีการพัฒนาโครงสร้างของกระดูกมากขึ้นที่สามารถมองเห็นได้จากการเอ็กซเรย์ สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ถ่ายภาพ X-ray เพื่อตรวจดูจำนวนลูกสุนัขในท้อง ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อแม่สุนัขเข้าสู่ภาวะคลอดบุตร และตอนนี้ผู้เลี้ยงอาจรู้สึกว่าท้องของแม่สุนัขมีการเคลื่อนไหวในขณะที่ลูกสุนัขดิ้นไปมาอยู่ข้างใน แม่สุนัขอาจมีภาวะปัสสาวะบ่อยเนื่องจากน้ำหนักมดลูกขยายใหญ่ไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ

สัปดาห์ที่ 8 : วันที่ 50 -56

ลูกสุนัขในท้องจะเริ่มมีขนาดร่างกายที่ใหญ่ขึ้น แม่สุนัขอาจเริ่มทำรังด้วยการเอาผ้ามากองสุม ผู้เลี้ยงอาจเตรียมอาหารมื้อเล็กๆ แต่ให้กินบ่อยครั้ง เพราะท้องของแม่สุนัขเริ่มแน่น ควรปล่อยให้สุนัขได้พักผ่อนและเดินออกกำลังกายเบาๆ โดยเฉพาะควรเน้นพักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมทั้งควรลดสิ่งรบกวนที่ทำให้เกิดอาการเครียดออกไปให้หมด

สัปดาห์ที่ 9 : วันที่ 57 – 63

สำหรับการตั้งครรภ์ที่มีความยาวเฉลี่ย (63 – 65 วัน) ในระยะนี้ถือเป็นสัปดาห์สุดท้าย ลูกสุนัขจะมีขนาดใหญ่และเริ่มดิ้นอยู่ในท้องมากขึ้น ทำให้แม่สุนัขรู้สึกไม่สบายและกระสับกระส่าย ผู้เลี้ยงต้องคอยวัดอุณหภูมิร่างกายให้ดี เพราะการที่อุณหภูมิลดลงจากปกติจะแสดงถึงสัญญาณบอกว่าการคลอดลูกจะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง

สัปดาห์ที่ 10 : วันที่ 64 – 70

สุนัขบางสายพันธุ์ เช่น เฟรนช์ บูลด็อก จะมีระยะเวลาการตั้งท้องนานกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ดังนั้น ผู้เลี้ยงที่เห็นว่าสุนัขของตนตั้งท้องนานกว่าสุนัขของคนอื่นก็อย่าตกใจไป ให้ติดต่อสอบถามกับสัตวแพทย์ของคุณเพื่อวางแผนว่าจะทำการผ่าตัดคลอดเมื่อใด หากลูกสุนัขไม่คลอดตามกำหนด

หลังจากนี้ก็จะเป็นช่วงของการเข้าสู่ระยะเวลาก่อนคลอดและหากไม่ติดขัดปัญหาใดๆ แม่สุนัขก็จะสามารถคลอดลูกได้เอง แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์เล็กอย่างชิวาวา อาจจะมีปัญหาคลอดยาก ดังนั้น จึงต้องคอยเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด

สุนัขท้องกี่เดือน

ถึงตอนนี้ผู้เลี้ยงมือใหม่คงจะมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นว่าสุนัขท้องกี่เดือน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในแต่ละช่วงสัปดาห์ของการตั้งท้องบ้าง เพื่อทำให้มีความมั่นใจในการดูแลสุนัขมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยดูแลสุนัขและลูกในท้องได้อย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้ทั้งแม่และลูกสุนัขมีความปลอดภัย ทั้งยังสามารถคลอดออกมาได้อย่างมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

อ่านเรื่องราวสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม;

  • รู้ถึงสาเหตุและวิธีการดูแลสุนัข ดูแลอย่างไรดีเมื่อสุนัขถ่ายไม่ออก
  • ชิวาว่าท้องกี่เดือน และวิธีการดูแลเมื่อชิวาวาตั้งท้อง
  • วิธีสังเกต ชิวาว่าใกล้คลอดแล้ว และสิ่งที่เจ้าของควรทำ
  • อันตรายจากการนอนกับแมว พร้อมวิธีป้องกันอย่างได้ผล
  • ทำอย่างไรดี เมื่อน้องแมวเบื่ออาหาร เรามีคำตอบ!
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Filed Under: น้องหมา Tagged With: น้องหมาท้องกี่เดือน, สุนัขตั้งครรภ์, สุนัขท้อง, สุนัขท้องกี่เดือน, หมาท้องกี่เดือน

ABOUT BOX MEAW

@BoxMeaww
ผู้ที่ชื่นชอบน้องหมา และน้องแมว เป็นชีวิตจิตใจ

Reader Interactions

You must log in to post a comment.

Primary Sidebar

Recent Posts

  • อายุของหมา เทียบกับอายุคนเป็นกี่ปี และการดูแลหมาแต่ละช่วงวัย
  • นิสัยสุนัขพันธุ์ต่างๆ เป็นอย่างไร ต้องรู้ก่อนคิดจะเลี้ยง
  • เรื่องน่ารู้ กับการเลี้ยงนก ต้องรู้อะไรบ้างถ้าอยากเลี้ยง
  • 7 เรื่องที่ทาสแมวต้องรู้ ถ้าคิดจะเลี้ยงแมวในคอนโด
  • สุนัขพิทบูล สุนัขพันธุ์ใหญ่ ขาโหดที่หลายคนนิยมเลี้ยง

ติดตามผ่านทาง Facebook

  • Popular

Recent Comments

    Categories

    • น้องต่าย
    • น้องนก
    • น้องปลา
    • น้องหมา
    • น้องแมว
    • อลาสกัน คลี ไค
    • อลาสกัน มาลามิวท์
    • เรื่องราวอื่น ๆ
    • ไซบีเรียน ฮัสกี้

    Archives

    • April 2022
    • February 2022
    • January 2022
    • November 2021
    • October 2021
    • September 2021
    • August 2021
    • July 2021
    • June 2021
    • May 2021
    • April 2021
    • March 2021
    • November 2020
    • October 2020
    • September 2020
    • August 2020
    • July 2020
    • June 2020
    • May 2020
    • April 2020
    • March 2020
    • January 2020
    • December 2019
    • November 2019
    • July 2019

    Before Footer

    ติดตามผ่าน Instagram

    Follow on Instagram
    • Home
    • Privacy Policy
    • Contact

    Copyright © 2022 · Wellness Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in