คนเลี้ยงสุนัขหลายคนอาจจะยังไม่เคยมีประสบการณ์ดูแล สุนัขท้องแรก จึงอาจจะรู้สึกกังวลและไม่แน่ใจว่าจะต้องดูแลสุนัขอย่างไร รวมถึงไม่รู้ว่าจะต้องสังเกตอาการอย่างไรจึงจะรู้ว่า สุนัขท้อง ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงมีคำแนะนำมาให้คุณได้ทราบ รับรองว่าจะทำให้เจ้าของสุนัขมีความเข้าใจและความมั่นใจในการดูแลสุนัขแสนรักของตนเองได้มากขึ้นแน่นอน
วิธีสังเกตอาการสุนัขท้องแรก ทำได้อย่างไร?
เมื่อสุนัขเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ช่วงอายุระหว่าง 6-9 เดือน หลังจากนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่สุนัขจะตั้งท้อง ดังนั้น เจ้าของที่เลี้ยงสุนัขสามารถสังเกตอาการของสุนัขท้องแรก ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพฤติกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้
ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อสุนัขตั้งท้องได้ประมาณ 1-3 สัปดาห์ โดยเมื่อมีอาการแสดงดังกล่าวนี้ก็ให้เริ่มสงสัยเอาไว้ก่อนว่าสุนัขของคุณอาจจะเริ่มตั้งท้องแล้ว
2.หัวนมเริ่มขยายขนาดจากเดิม และมีสีที่เปลี่ยนไป
โดยอาจจะมีทั้งสีชมพูเข้มขึ้นหรือสีน้ำตาล อันเนื่องมาจากมีการสร้างรกและหลั่งฮอร์โมนบางชนิดออกมาจากรกเพื่อให้ร่างกายของแม่สุนัข พร้อมที่จะมีน้ำนมเพื่อเลี้ยงดูลูกๆ สุนัขที่กำลังจะคลอดออกมา
3.น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และขนาดตัวเริ่มขยาย
โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องที่อาจมีการขยายใหญ่ขึ้นจากเดิม สุนัขบางตัวอาจจะไม่ยอมให้จับท้องและรู้สึกหงุดหงิดเมื่อเจ้าของไปจับท้อง แต่ทั้งนี้การจะรู้ว่าสุนัขมีน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน ต้องมีการชั่งน้ำหนักมาอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะได้มีการเปรียบเทียบได้ว่าในช่วงนี้สุนัขมีน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดหรือไม่
4.พฤติกรรมของสุนัขที่เปลี่ยนไป
อย่างเช่น จากที่เคยวิ่งเล่นทั้งวันก็อาจจะเริ่มนอนเฉยๆ มากขึ้น ไม่ค่อยขยับตัว, มีพฤติกรรมติดเจ้าของและอ้อนมากขึ้น หรือสุนัขบางตัวก็อาจจะมีอาการหงุดหงิดและดิ้นไม่ยอมให้จับท้อง โดยพฤติกรรมเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันไปในสุนัขแต่ละตัว
อาการดังที่กล่าวไปข้างตันนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพฤติกรรมของ สุนัขท้องแรก ที่เจ้าของสามารถใช้ในการสังเกตสุนัขของตนในเบื้องต้นได้
วิธีการตรวจจากแพทย์เพื่อยืนยันว่าสุนัขท้องจริง
นอกเหนือจากการสังเกตอาการเบื้องต้นของสุนัข ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพฤติกรรมที่อาจบ่งบอกว่าสุนัขกำลังตั้งท้องแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ก็อาจจะไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน 100% ได้เสมอไป ดังนั้น จึงต้องมีการยืนยันการตั้งท้องของสุนัขโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะใช้วิธีการตรวจต่างๆ อยู่ด้วยกันหลายวิธีดังนี้
1.ตรวจร่างกาย
แพทย์จะทำการตรวจโดยคลำดูที่ท้องของสุนัขว่ามีการขยายตัวของมดลูกและปีกมดลูกหรือไม่ และบางครั้งอาจจะสามารถคลำพบถุงตัวอ่อน หากอายุครรภ์สุนัขมากพอซึ่งจะยืนยันได้ว่าสุนัขตั้งท้องจริง
2.การใช้ชุดตรวจตั้งท้อง
เป็นการตรวจระดับฮอร์โมนจากปัสสาวะของสุนัข เนื่องจากเมื่อตั้งท้องและมีการสร้างรก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิดออกมาที่สามารถตรวจจับได้จากปัสสาวะ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ก็ไม่สามารถยืนยันได้ 100% เช่นเดียวกัน
3.Ultrasound
เป็นวิธีการตรวจโดยใช้เครื่องมือช่วย ซึ่งจะทำให้แพทย์รู้อายุของการตั้งครรภ์ว่าสุนัขท้องได้กี่สัปดาห์แล้ว อีกทั้งยังสามารถช่วยประเมินสุขภาพของอายุลูกสุนัขในท้องได้อีกด้วย รวมทั้งยังช่วยประเมินความผิดปกติต่างๆ ของมดลูกสุนัขว่ามีปัญหาอะไรอย่างอื่นอีกหรือไม่
4.X-ray
เป็นวิธีการตรวจอีกชนิดหนึ่งที่มีความละเอียดอย่างมาก โดยจะทำให้เราได้รู้ว่าลูกสุนัขที่อยู่ในท้องมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดกี่ตัว สุขภาพของลูกสุนัขสมบูรณ์แข็งแรงดีหรือไม่ นอกจากนี้แพทย์ก็ยังสามารถประเมินภาวะคลอดยากของแม่สุนัขได้ด้วยโดยการประเมินขนาดตัวของลูกสุนัขในท้อง ซึ่งจะช่วยวางแผนการคลอดสำหรับสุนัขขนาดเล็กที่มักมีปัญหาคลอดยากอย่างเช่น ชิวาว่า เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ เป็นวิธีการตรวจสุนัขตั้งท้องที่มีความแม่นยำสูงที่จะช่วยให้เจ้าของได้รู้ว่าสนุนัขท้องจริงหรือไม่ อีกทั้งยังได้รู้สุขภาพของลูกสุนัขและภาวะความเสี่ยงต่างๆ เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนการดูแลสุนัข ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
วิธีดูแลสุนัขท้องแรก ต้องทำอย่างไร
เมื่อสุนัขตั้งท้อง จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพฤติกรรมหลายอย่าง รวมถึงสภาพจิตใจ โดยสุนัขท้องแรกบางตัวอาจจะมีความเครียดมากขึ้น ดังนั้น เจ้าของหรือผู้ดูแลควรทำการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของแม่สุนัขอย่างใกล้ชิด ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้
สัปดาห์ที่ 1-3
สุนัขที่เริ่มตั้งท้องในช่วงสัปดาห์แรกๆ อาจจะยังไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเจ้าของหรือผู้เลี้ยงรู้ว่าสุนัขตั้งครรภ์ก็สามารถเริ่มต้นบำรุงดูแลร่างกายได้ตั้งแต่ตอนนี้เลย ซึ่งสุนัขบางตัวอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน เซื่องซึม อาจจะทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้น เจ้าของจึงควรจัดเตรียมอาหารที่มีโปรตีนสูงและวิตามินเอาไว้
โดยหากสุนัขกินอาหารที่เจ้าของทำเอง ก็สามารถเพิ่มเนื้อไก่ต้มและน้ำมันตับปลา รวมถึงอาหารเสริมที่มีแคลเซียมให้สุนัขกินได้ แต่หากเป็นอาหารสำเร็จรูป ควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนสูง เสริมด้วยน้ำมันตับปลาและแคลเซียม ในระหว่างนี้ควรดูแลไม่ให้สุนัขทำกิจกรรม อย่างเช่น วิ่งเล่นหรือกระโดดมากเกินไป และอาจแยกมาให้อยู่ตัวเดียวเพื่อให้สุนัขได้พักผ่อนมากขึ้น
สัปดาห์ที่ 3-6
ในช่วงเวลานี้ร่างกายของสุนัขจะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น รวมถึงอาจจะมีความเครียดง่ายหรืออาจมีอาการหงุดหงิดฉุนเฉียว ดังนั้น จึงควรดูแลสุนัขให้ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบ ไม่ควรให้สุนัขวิ่งเล่นหรือทำกิจกรรมหนักๆ มากเกินไป หากที่บ้านเลี้ยงสุนัขหลายตัว ก็ควรแยกสุนัขท้องออกมาต่างหากด้วยเพื่อให้สุนัขได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และลดความเครียดลง นอกจากนี้ก็อาจจะต้องลดระยะเวลาในการอาบน้ำ โดยควรใช้วิธีการเช็ดตัวแทน
ส่วนทางด้านอาหารนั้น ในช่วงนี้ต้องเน้นสารอาหารประเภทโปรตีนให้มากขึ้น รวมถึงควรเพิ่มปริมาณด้วย เพราะในช่วงนี้ร่างกายของแม่สุนัขจะต้องการสารอาหารที่มากเป็นพิเศษ เพื่อนำไปใช้ในการบำรุงเลี้ยงลูกสุนัขในท้อง ซึ่งนอกเหนือจากโปรตีนแล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะเสริมด้วยน้ำมันตับปลา, วิตามินรวม และเกลือแร่ต่างๆ
สัปดาห์ที่ 6-9 จนถึงช่วงเวลาใกล้คลอด
แม่สุนัขจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เห็นได้ชัดมากในช่วงเวลานี้ สุนัขหลายตัวอาจจะมีท้องขยายใหญ่และเคลื่อนไหวได้ช้าลง นอนมากขึ้น ไม่ค่อยขยับเขยื้อนร่างกาย ดังนั้น จึงควรเตรียมพื้นที่สำหรับการพักผ่อนให้เต็มที่และสร้างบรรยากาศที่สงบ ลดสิ่งรบกวนต่างๆ รวมถึงงดเล่นหรือพาเดินพาวิ่งที่ทำให้สุนัขต้องออกแรงมากกว่าปกติ
การให้อาหารแม่สุนัขในช่วงท้องแก่และใกล้จะคลอดนี้ ควรเพิ่มสารอาหารที่เป็นประโยชน์ให้มากขึ้น งดของทานเล่นที่มีส่วนประกอบของสารอาหารน้อย สำหรับสุนัขที่ทานอาหารที่เจ้าของทำเอง ควรเพิ่มไข่ต้มเข้ามาด้วยนอกเหนือจากเนื้อไก่ต้มและตับไก่ที่เพิ่มปริมาณขึ้นแล้ว ส่วนสุนัขที่กินอาหารสำเร็จรูปก็ควรให้เนื้อไก่ต้ม+ตับไก่ต้ม รวมถึงเพิ่มไข่ต้มวันละฟองเพื่อให้แม่สุนัขได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังถือเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมในการคลอดและการเลี้ยงดูลูกสุนัขตัวน้อยๆ ที่กำลังจะเกิดมาได้อย่างสมบูรณ์พร้อม
การดูแลสุนัขท้องแรกนั้นก็ไม่ต่างจากการดูแลสุนัขที่เคยท้องและคลอดมาแล้ว เพียงแต่อาจจะต้องดูแลสภาพจิตใจและสังเกตความเครียดที่แม่สุนัขตั้งท้องแรก มักจะมีเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ไม่เคยชิน ดังนั้น เจ้าของหรือผู้ดูแลควรช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด พยายามจัดให้แม่สุนัขตั้งท้องได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบ และสะอาด ไม่มีสิ่งรบกวนที่อาจจะทำให้เกิดความเครียดหรือความหวาดระแวง เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถถ่ายทอดถึงลูกสุนัขที่อยู่ในท้องได้ รวมถึงควรงดการทำกิจกรรมหนักๆ ที่อาจเป็นอันตรายด้วย
ถึงตอนนี้เจ้าของคงจะมีความมั่นใจมากขึ้นในการดูแลสุนัขท้องแรกมากยิ่งขึ้นกันแล้ว ซึ่งการดูแลอย่างถูกต้องจะช่วยให้แม่และลูกสุนัขมีสุขภาพแข็งแรง มีความปลอดภัยในการคลอด และสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างแข็งแรงนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม;
- สี่ขาคลายเหงากับ 5 สายพันธุ์น้องหมาตัวเล็ก เลี้ยงง่าย ในคอนโด
- 10 อันดับพันธุ์สุนัขน่าเลี้ยง
- 15 สายพันธุ์สุนัขที่ถึงจะอายุมากแล้ว ก็ยังดูเด็กเหมือนเป็นหมาน้อยไม่มีผิด
- คู่มือ อาบน้ำหมา [พันธุ์เล็ก vs พันธุ์ใหญ่]
- ไปเช็คกัน! หมาของเรากำลังป่วยหรือเปล่า เราจะรู้ได้ยังไงนะ?
- มาดูกันเถอะว่า ทำไมต้อง ตัดขนหมา แล้วมันจำเป็นหรือเปล่านะ