• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

Box Meaww

บ๊อก ๆ เหมียว ๆ รอบรู้เรื่องสัตว์เลี้ยง

  • Home
  • น้องหมา
    • ไซบีเรียน ฮัสกี้
  • น้องแมว
  • น้องต่าย
  • เรื่องราวอื่น ๆ
Home » สุนัขเป็นแผลเปื่อย รักษาอย่างไร ก่อนแผลลุกลาม

สุนัขเป็นแผลเปื่อย รักษาอย่างไร ก่อนแผลลุกลาม

May 3, 2021 by Box Meaww Admin Leave a Comment

สุนัขเป็นแผลเปื่อย รักษาอย่างไร ก่อนแผลลุกลาม
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

แผลเปื่อยเป็นแผลที่สามารถพบได้ในสุนัขทุกเพศทุกวัย สำหรับคนรักสุนัขทุกคนจะรู้ดีว่าการที่สุนัขเป็นแผลเปื่อยนั้นต้องทรมานกับความเจ็บปวดที่เกิดจากบาดแผลไม่ใช่น้อย แต่ว่าความเจ็บปวดที่เกิดจากแผลเปื่อยจะลดน้อยลงได้ หากเจ้าของทำการดูและรักษาแผลเปื่อยอย่างรวดเร็ว ดังนั้นวันนี้เราจึงนำความรู้เกี่ยวกับแผลเปื่อยว่ามีสาเหตุมาจากอะไรและมีวิธีการดูแลอย่างไร รวมถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นมาฝาก รับรองว่าเมื่อนำไปปฏิบัติแล้ว แผลของสุนัขที่เป็นอยู่จะหายอย่างรวดเร็วแน่นอน

Contents hide
1 สุนัขเป็นแผลเปื่อย คืออะไร
2 สาเหตุที่ทำให้ สุนัขเป็นแผลเปื่อย hot spot
2.1 ความร้อนและความชื้น
2.2 อาการแพ้เห็บ หมัด ไร ลิ้นและแมลงต่าง ๆ
2.3 ขนยาวและพันกันเป็นก้อน
2.4 ภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism)
2.5 ความเครียด
3 การรักษาเมื่อสุนัขเป็นแผลเปื่อย
4 การดูแลและป้องกันสุนัขเป็นแผลเปื่อย
4.1 ตัดแต่งขน
4.2 อาบน้ำเป็นประจำ
4.3 เป่าตัวให้แห้ง
4.4 ออกกำลังกายคลายเหงา แก้เครียด
4.5 ตรวจโรค
4.6 Related

สุนัขเป็นแผลเปื่อย คืออะไร

สุนัขเป็นแผลเปื่อย

แผลเปื่อยหรือ Hot Spots หรือโรคผิวหนังเฉียบพลันเนื่องจากความอับชื้น (acute moist dermatitis) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้มากและบ่อย โดยผิวหนังจะมีการอักเสบและเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน ทำให้สุนัขมีอาการคันและเกาจนเป็นแผลขนาดใหญ่ ซึ่งแผลเปื่อยจะมีลักษณะเป็นวงกลม แฉะ มีน้ำเยิ้มบนบาดแผลตลอดเวลา แผลที่เกิดขึ้นจะมีทั้งแผลที่ตื้นและแผลที่ลึก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าสุนัขได้เกามากหรือน้อยนั่นเอง โดยในช่วงแรกที่เกิดแผลจะยังไม่เป็นแผลเปื่อย แต่เมื่อปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน สุนัขจะทำการเกาและเลียที่บริเวณแผลจนทำให้กลายเป็นแผลเปื่อย ซึ่งการเกาและเลียนับเป็นการกระตุ้น ขยายวงของแผลให้มีความกว้างและลึกลงไปในชั้นผิวหนังมากขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน แผลจะลุกลามไปจนทั่วร่างกาย เป็นหนองและมีกลิ่นเหม็นเกิดขึ้น ทำให้ยากต่อการรักษาแผลและต้องใช้เวลาในการรักษาที่นานกว่าการรักษาแผลในระยะเริ่มต้นอีกด้วย

สาเหตุที่ทำให้ สุนัขเป็นแผลเปื่อย hot spot

การที่สุนัขเกาจนเกิดแผลเปื่อย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเพราะมีอาการคันเกิดขึ้น และสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันก็มีดังนี้

  1. ความร้อนและความชื้น

    ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดแผลเปื่อย hot spot เพราะความร้อนและความชื้นจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาการคันที่ผิวหนัง เมื่อคันและไม่ได้รับการรักษา สุนัขก็ต้องเกา เพราะคิดว่าการเกาจะช่วยรักษาให้หายจากอาการคันได้ และเมื่อเกาเล็บจะขูดกับผิวหนังจนเกิดเป็นแผลตามมานั่นเอง

  2. อาการแพ้เห็บ หมัด ไร ลิ้นและแมลงต่าง ๆ

    สุนัขบางตัวที่มีอาการแพ้น้ำลายของเห็บ หมัด ไร ลิ้นและแมลงต่าง ๆ เมื่อโดนสัตว์เหล่านี้กัด น้ำลายที่ถูกปล่อยออกมาจะทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนัง และเกาจนสุนัขเป็นแผลเปื่อยได้

  3. ขนยาวและพันกันเป็นก้อน

    สุนัขที่มีขนยาวหรือขนพันกันเป็นก้อนจะเกิดความชื้นที่บริเวณผิวหนังที่อยู่ด้านล่างก้อนขนดังกล่าว เนื่องจากผิวหนังไม่สามารถระบายความชื้นออกมาได้ ทำให้เกิดอาการคันและเกาจนเป็นแผล

  4. ภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism)

    คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ออกมาไม่เพียงพอ ทำให้ต่อมไทรอยด์ต้องทำงานมากกว่าปกติ เพื่อผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำและเป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนังได้ง่าย โดยเฉพาะการเกิดแผลเปื่อยตามร่างกายนั่นเอง

  5. ความเครียด

    ถือเป็นปัจจัยที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในสุนัขที่ต้องอยู่ตามลำพังเป็นระยะเวลานานเป็นประจำ เมื่อสุนัขเกิดความเครียด เพื่อเป็นการระบายความเครียดจึงทำการเลีย เกาหรือกัดไปทั่วทั้งร่างกาย ส่งผลให้สุนัขเป็นแผลเปื่อยตามร่างกายได้

จะเห็นว่าสาเหตุที่ทำให้สุนัขเป็นแผลเปื่อยนั้นเป็นสาเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและบ่อยครั้ง ดังนั้นโอกาสที่สุนัขของคุณจะเป็นแผลเปื่อยย่อมมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งแผลเปื่อยนี้สามารถดูแลรักษาให้หายได้ไม่ยาก โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์

การรักษาเมื่อสุนัขเป็นแผลเปื่อย

สุนัขเป็นแผลเปื่อย

แผลเปื่อยจะมีลักษณะเป็นแผลสดมีน้ำไหลเยิ้มอยู่บนแผลตลอดเวลา ซึ่งการดูแลรักษาแผลเปื่อยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การรักษาแผล

เมื่อสุนัขเป็นแผลเปื่อยเกิดขึ้นแล้ว หากเราไม่ทำการรักษาแผลให้หายก่อน แผลเปื่อยนี้อาจจะลุกลามไปทั่วตัวสุนัขได้ ดังนั้นเราจึงต้องทำการรักษาแผลเปื่อยให้หาย โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • โกนขนรอบแผล สุนัขเป็นแผลเปื่อยจะต้องทำการโกนขนที่อยู่รอบแผลออก ควรโกนขนให้ห่างจากขอบแผลอย่างน้อย 2-3 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามขนเข้าไปในแผล และเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดแผลด้วย
  • ทำความสะอาดแผล ด้วยการใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผล ทำการล้างแผลให้สะอาด ซึ่งในขั้นตอนการล้างแผลสามารถใช้น้ำเกลือรดบนแผลช้า ๆ อย่างเบามือ หรือจะใช้สำลีชุบน้ำเกลือมาเช็ดเบา ๆ ที่บริเวณแผลก็ได้ ล้างทำความสะอาดอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้แผลสะอาดและป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อเพิ่ม
  • ทาครีม โดยครีมที่ใช้ในการทาจะมีส่วนผสมหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ยาปฏิชีวนะกับสเตียรอยด์ ซึ่งครีมที่ใช้ทาอาจจะเป็นตัวเดียวที่มีส่วนผสมทั้ง 2 อย่างอยู่ด้วยกันหรือเป็นครีมคนละตัวก็ได้ ขึ้นอยู่กับเจ้าของหรือแพทย์ที่ทำการักษา โดยครีมที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์จะช่วยลดอาการคันที่บริเวณแผล และยาปฏิชีวนะทำหน้าที่ฆ่าเชื้อลดอาการอักเสบของแผลได้

2. การรักษาที่สาเหตุ

ในช่วงที่ทำการรักษาแผลเปื่อยของสุนัข เจ้าของก็ต้องหาสาเหตุที่ทำให้สุนัขเป็นแผลเปื่อยด้วย เพื่อที่จะได้กำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลเปื่อย โดยเฉพาะสุนัขที่เกิดเป็นแผลเนื่องจากอาการภูมิแพ้หรือเป็นโรคภาวะขาดไทรอยด์ เพราะการรักษาที่สาเหตุถือเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด  และเป็นการดูแลในระยะยาวที่ป้องกันไม่ให้สุนัขกลับมาเป็นแผลได้อีก

การดูแลและป้องกันสุนัขเป็นแผลเปื่อย

สุนัขเป็นแผลเปื่อย

สำหรับผู้ที่เลี้ยงสุนัขทุกคนย่อมไม่ต้องการให้สุนัขของตนเองเกิดแผลเปื่อยขึ้น เพราะเวลาที่มีแผลเกิดขึ้น สุนัขจะได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการคันและความเจ็บปวดจากแผลเปื่อยอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้สุนัขเป็นแผลเปื่อย ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ดังนี้

  1. ตัดแต่งขน

    การตัดแต่งขนให้สั้นและหวีให้เป็นระเบียบจะช่วยให้ผิวหนังของสุนัขระบายความชื้นได้ดี ไม่เกิดการอับชื้นบนผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคันและแผลเปื่อย ดังนั้นเจ้าของควรทำการตัดแต่งขนสุนัขเป็นประจำทุกเดือนและหวีขนสุนัขเป็นประจำทุกวันหรือวันเว้นวัน เพื่อให้ขนเป็นระเบียบไม่พันกัน

  2. อาบน้ำเป็นประจำ

    หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สุนัขเป็นแผลเปื่อย ก็คือ เห็บ หมัด ลิ้น ไรและแมลงต่าง ๆ ที่เข้ามากัด ซึ่งสัตว์เหล่านี้ไม่ชอบอยู่ในพื้นที่ที่สะอาด ดังนั้นจึงควรอาบน้ำสุนัขเป็นประจำ เพื่อป้องกันเห็บหมัดเหล่านั่นเอง

  3. เป่าตัวให้แห้ง

    หลังจากทำการอาบน้ำสุนัขแล้ว ควรเป่าตัวสุนัขให้แห้ง โดยเฉพาะสุนัขที่มีขนยาวควรเป่าที่บริเวณผิวหนังให้แห้งด้วย เพราะหากเป่าผิวไม่แห้งที่บริเวณผิวจะยังมีความชื้นสะสมอยู่ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและคัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สุนัขเกาและเลียจนเกิดแผลเปื่อยได้ ดังนั้นยอมเสียเวลาสักนิดทำการเป่าขนและผิวสุนัขให้แห้งหลังอาบน้ำทุกครั้งจะดีกว่า

  4. ออกกำลังกายคลายเหงา แก้เครียด

    ความเหงาถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเครียดในสุนัขมากที่สุด เพราะเมื่อสุนัขต้องอยู่ตามลำพังจะเกิดความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว อ้างว้าง ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียด ซึ่งความเครียดนี้จะค่อย ๆ สะสมทีละน้อยและมากขึ้น จนแสดงออกมาเป็นการเกา เลียตามร่างกายบ่อยๆ จนเกิดแผล ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดกับสุนัข เจ้าของจะต้องให้ความสนใจด้วยการพาไปออกกำลังกายหรือเล่นกับสุนัขเป็นประจำ เพื่อให้สุนัขได้ปลดปล่อยพลังงานและรู้สึกผ่อนคลายนั่นเอง

  5. ตรวจโรค

    หากทำความสะอาดและดูแลสุนัขเป็นอย่างดีแล้ว สุนัขยังมีแผลเปื่อยเกิดขึ้นเป็นประจำ เจ้าของควรพาสุนัขของตนไปพบสัตว์แพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าสุนัขเป็นแผลเปื่อยเกิดจากอะไร หากเป็นโรคภูมิแพ้ก็ทำการตรวจหาสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เพื่อที่จะได้ป้องกันไม่ให้สุนัขเข้าใกล้กับสารก่อภูมิแพ้ แต่หากมีสาเหตุจากโรคอย่างอื่นก็จะได้ทำการรักษาให้หายขาดต่อไป

จะเห็นว่าการที่สุนัขเป็นแผลเปื่อยนั้นอาจดูไม่รุนแรง แต่หากไม่ทำการดูแลหรือรักษาเบื้องต้นให้ดีแล้ว แผลเปื่อยที่เกิดขึ้นอาจลุกลามและสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับสุนัขตัวโปรดของคุณได้ ดังนั้นเมื่อสุนัขมีแผลเกิดขึ้นควรรีบทำการรักษาทันที และควรดูแลความสะอาดให้กับสุนัขอย่างถูกลักษณะเป็นประจำ เพียงเท่านี้สุนัขของคุณก็จะปลอดภัยจากโรคแผลเปื่อยแล้ว

 

อ่านเรื่องราวสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม

  • ชิวาว่าท้องกี่เดือน และวิธีการดูแลเมื่อชิวาวาตั้งท้อง
  • แมวมีน้ําเหลืองๆ ออกจากช่องคลอด เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่
  • สุนัขคันตลอดเวลา สาเหตุและวิธีบรรเทา ที่เจ้าของต้องรู้
  • วิธีรักษามดลูกอักเสบในสุนัข ทำได้กี่วิธี แบบไหนดีที่สุด
  • โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข เกิดจากอะไร อาการและวิธีรักษา
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Filed Under: น้องหมา Tagged With: สุนัขมีแผล, สุนัขเป็นแผล, สุนัขเป็นแผลเปื่อย, หมามีแผล, หมาเป็นแผล

ABOUT BOX MEAW

@BoxMeaww
ผู้ที่ชื่นชอบน้องหมา และน้องแมว เป็นชีวิตจิตใจ

Reader Interactions

You must log in to post a comment.

Primary Sidebar

Recent Posts

  • อายุของหมา เทียบกับอายุคนเป็นกี่ปี และการดูแลหมาแต่ละช่วงวัย
  • นิสัยสุนัขพันธุ์ต่างๆ เป็นอย่างไร ต้องรู้ก่อนคิดจะเลี้ยง
  • เรื่องน่ารู้ กับการเลี้ยงนก ต้องรู้อะไรบ้างถ้าอยากเลี้ยง
  • 7 เรื่องที่ทาสแมวต้องรู้ ถ้าคิดจะเลี้ยงแมวในคอนโด
  • สุนัขพิทบูล สุนัขพันธุ์ใหญ่ ขาโหดที่หลายคนนิยมเลี้ยง

ติดตามผ่านทาง Facebook

  • Popular

Recent Comments

    Categories

    • น้องต่าย
    • น้องนก
    • น้องปลา
    • น้องหมา
    • น้องแมว
    • อลาสกัน คลี ไค
    • อลาสกัน มาลามิวท์
    • เรื่องราวอื่น ๆ
    • ไซบีเรียน ฮัสกี้

    Archives

    • April 2022
    • February 2022
    • January 2022
    • November 2021
    • October 2021
    • September 2021
    • August 2021
    • July 2021
    • June 2021
    • May 2021
    • April 2021
    • March 2021
    • November 2020
    • October 2020
    • September 2020
    • August 2020
    • July 2020
    • June 2020
    • May 2020
    • April 2020
    • March 2020
    • January 2020
    • December 2019
    • November 2019
    • July 2019

    Before Footer

    ติดตามผ่าน Instagram

    Follow on Instagram
    • Home
    • Privacy Policy
    • Contact

    Copyright © 2023 · Wellness Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in