• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

Box Meaww

บ๊อก ๆ เหมียว ๆ รอบรู้เรื่องสัตว์เลี้ยง

  • Home
  • น้องหมา
    • ไซบีเรียน ฮัสกี้
  • น้องแมว
  • น้องต่าย
  • เรื่องราวอื่น ๆ
Home » หมาขี้เรื้อน เกิดจากอะไร มีอันตรายหรือไม่

หมาขี้เรื้อน เกิดจากอะไร มีอันตรายหรือไม่

September 12, 2021 by Admin Meaww Leave a Comment

หมาขี้เรื้อน เกิดจากอะไร มีอันตรายหรือไม่
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

หลายคนอาจเคยเห็นอาการโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นกับสุนัขที่จะมีอาการขนร่วง คัน และผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งอาการดังกล่าวคือโรคขี้เรื้อน โดย หมาขี้เรื้อน นั้นอาจพบเจอได้ทั่วไปและแม้แต่สุนัขที่เลี้ยงไว้ก็อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคเรื้อนได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงจะมาพูดถึงรายละเอียดของโรคนี้ให้รู้จักกันมากขึ้น

Contents hide
1 หมาขี้เรื้อน เกิดจากอะไร
2 ที่มาของการค้นพบโรคเรื้อนในสุนัข
3 อาการที่พบ
4 การวินิจฉัยโรคเรื้อนในสุนัข
5 การรักษาโรคเรื้อนในสุนัข
6 การป้องกันโรคเรื้อนในสุนัข
7 โรคเรื้อนในสุนัขสามารถติดต่อมายังคนได้หรือไม่
7.1 Related

หมาขี้เรื้อน เกิดจากอะไร

โรคเรื้อนในสุนัขเป็นโรคที่เกิดจากสายพันธุ์ของมัยโคแบคทีเรียที่พบได้บ่อยในสุนัขสายพันธุ์ขนสั้นบางสายพันธุ์ เช่น พิทบูลเทอร์เรีย ,บ็อกเซอร์ และโดเบอร์แมน ซึ่งจะส่งผลให้ผิวหนังของสุนัขเกิดตุ่มนูนขึ้น บางครั้งอาจเป็นสีแดงหรือเป็นแผล รวมถึงทำให้เกิดภาวะขนร่วง ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือศีรษะและหู แต่อาจอยู่ที่ใดก็ได้ในร่างกาย

สาเหตุและการแพร่กระจายของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดในขณะนี้ แต่คาดว่ามัยโคแบคทีเรียในสิ่งแวดล้อม เช่น ที่พบในดินและ น้ำ จะเข้าสู่ผิวหนังของสุนัขโดยการกัดแมลงหรือวิธีการอื่นๆ ซึ่งสุนัขมีความเสี่ยงต่อแบคทีเรียสายพันธุ์นี้มากกว่ามนุษย์ ดังนั้นการติดเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายจึงทำให้เกิดอาการโรคเรื้อนที่ทำให้เกิดก้อนหรือแผลที่ผิวหนัง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เชื่อกันว่าแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อนจะแพร่กระจายผ่านการกัดของแมลง มากกว่าการสัมผัสของเหลวที่มีเชื้อดังกล่าวอยู่

ที่มาของการค้นพบโรคเรื้อนในสุนัข

หมาขี้เรื้อน

ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ของระบาดวิทยาในปี ค.ศ. 1973 ที่ Richard Smith สัตวแพทย์ชาวโรดีเซียนได้มีการบันทึกอาการของโรคผิวหนังที่พบในสุนัขหลังอาน ที่มีลักษณะเด่นของโรคคือมีก้อนใต้ผิวหนังซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายขนาด ในตอนแรกเขาคิดว่าสุนัขอาจจะเป็นวัณโรคและในตอนนั้นหากสุนัขมีอาการดังกล่าวจะต้องถูกทำการุณยฆาตและมีการชันสูตรศพ ซึ่งเมื่อทำการตรวจสอบก็พบว่าอวัยวะภายในไม่มีร่องรอยของวัณโรคแต่มีการพบเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากที่แผล ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 โรคนี้ก็ได้รับการยืนยันจากสัตวแพทย์ชาวออสเตรเลียที่ว่าโรคเรื้อนเป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในสุนัขและไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด

อาการที่พบ

รอยแผลที่เกิดจากการติดเชื้อจะมีลักษณะเป็นก้อนใต้ผิวหนังทั้งก้อนเดี่ยวหรือหลายก้อน รอยโรคเหล่านี้สามารถปรากฏได้ทุกที่บนตัวสุนัข แต่ส่วนใหญ่มักพบบริเวณศีรษะและบนรอยพับหลังหู ก้อนเนื้อจะมีลักษณะแข็ง ไม่เจ็บ และมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มม. ถึง 5 ซม.

อาการของโรคเรื้อนที่พบส่วนใหญ่นั้นอาจพบได้ทั้งรูปแบบที่เป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ส่วนรอยโรคเรื้อนขนาดใหญ่จะมองเห็นได้ชัดจากภายนอกโดยจะมีอาการขนร่วงประกอบด้วย แผลที่เป็นสะเก็ดขนาดใหญ่เหล่านี้อาจทำให้สุนัขเสียโฉมและทำให้เกิดการระคายเคือง แต่รอยโรคจะไม่ลุกลามต่อไปยังต่อมน้ำเหลือง เส้นประสาท หรือระบบอวัยวะภายใน

โรคเรื้อนในสุนัขที่มีอาการไม่รุนแรงมักจะหายไปเอง มีบางกรณีที่สุนัขจะต้องรักษาด้วยยาต้านจุลชีพเพื่อกำจัดโรค การวินิจฉัยดรคอาจจะดูได้จากอาการแสดงภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน เและอาจยืนยันได้โดยส่งเนื้อเยื่อส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ

การวินิจฉัยโรคเรื้อนในสุนัข

หมาขี้เรื้อน

โรคเรื้อนในสุนัขและโรคเรื้อนของมนุษย์มีความคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะในส่วนของการก่อตัวของก้อนเนื้อใต้ผิวหนัง ซึ่งการวินิจฉัยโรคเรื้อนในสุนัขมักไม่ซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสุนัขที่มีอาการของรอยโรคเป็นสุนัขที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคเรื้อน เช่น สายพันธุ์ขนสั้น โดยเฉพาะ Boxer, Boxer-cross, Staffordshire Terrier และ Doberman

รอยโรคหรือสะเก็ดผิวหนังที่หนาตัวขึ้นจะสังเกตได้ชัดบริเวณรอบศีรษะและหู สัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายสุนัขทำการวินิจฉัยโดยนำตัวอย่างไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้การย้อมสีแบบพิเศษเพื่อดูว่าสุนัขมีเชื้อ Staphylococcus intermedius ทุติยภูมิหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรอยโรคและหากสุนัขมีอาการคันและระคายเคืองก็จะทำการรักษาในลำดับต่อไป

การรักษาโรคเรื้อนในสุนัข

ในหลายกรณี โรคนี้สามารถหายเองได้ และรอยโรคจะค่อยๆ หายไปตามกาลเวลาโดยปกติจะใช้เวลาภายในหนึ่งถึงสามเดือน ซึ่งการที่โรคเรื้อนในสุนัขสามารถหายไปได้เองนี้สันนิษฐานว่าเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์ แต่หลายครั้งการติดเชื้อจะเลวลงและนำไปสู่แผลเรื้อรังและทำให้เสียโฉม ซึ่งต้องใช้การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้ออย่างเช่น  rifampicin, clarithromycin, clofazimine และ doxycycline แนะนำให้ใช้ rifampicin และ clarithromycin ร่วมกันในการรักษาหมาขี้เรื้อน

สัตวแพทย์หลายคนอาจขอทดสอบความไวในการตอบสนองต่อยาเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาหมาขี้เรื้อนให้ดีขึ้น หากโรคเรื้อนนั้นไม่ตอบสนองต่อการรักษา เช่น แผลลึก ใช้ยาไปแล้วไม่หายซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ต้องมีการปรับยาโดยเลือกใช้ clofazimine และปิโตรเลียมเจลลี่เพื่อใช้เป็นยาเฉพาะที่นอกเหนือจากการรักษาด้วยยา นอกจากนี้ก็อาจจะใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นทางเลือกเพิ่มเข้ามา

ในการรักษาโรคเรื้อนของสุนัขควรรักษาต่อเนื่องจนกว่าแผลจะหาย การติดเชื้อในระดับลึกควรได้รับการรักษาเป็นเวลา 7-21 วันหลังจากแผลหาย และการติดเชื้อที่ไม่ลึกมากจะรักษาได้ไม่เกิน 7 วันหลังจากที่แผลหายแล้ว แต่ทั้งนี้รอยโรคอาจหลงเหลืออยู่กับตัวของสุนัขอยู่บ้างบางส่วนในกรณีที่มีแผลลึกหรือเป็นมากซึ่งไม้องกังวลเพราะมันไม่สามารถติดต่อไปสู่คนหรือสัตว์อื่นๆได้อีกต่อไปแล้ว

การป้องกันโรคเรื้อนในสุนัข

หมาขี้เรื้อน

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเรื้อนนั้นอาจมาจากการถูกแมลงที่มีเชื้อมัยโคแบคทีเรียกัดและเชื้อนั้นก็มีการแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายจึงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้จึงต้องดูแลสุนัขไม่ให้ไปสัมผัสกับแมลงที่มีเชื้อดังกล่าว  โดยเฉพาะคนที่เลี้ยงสุนัขแบบปล่อยนอกบ้านที่อาจทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดโรคเรื้อนได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นอาบน้ำและเช็ดตัวสุนัขเพื่อทำความสะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้มีแมลงติดอยู่ตามตัวหรือขน

นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาว่าโรคเรื้อนในสุนัขมักเกิดได้มากในพื้นที่ที่มีความเย็นและชื้น ดังนั้นการป้องกันไม่ให้สุนัขเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวก็มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเรื้อนได้อย่างมาก รวมทั้งทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งสังเกตอาการของรอยโรคที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะได้พาไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและให้การรักษาเสียตั้งแต่เนิ่นๆ

สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือ การติดเชื้อจากสถานที่ที่พาสุนัขไปฝากเลี้ยง หรือไปอาบน้ำ ตัดขน ที่มีโอกาสจะได้รับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อนดังกล่าว ซึ่งหากจะพาสุนัขไปยังสถานที่ดังกล่าวควรตรวจสอบเรื่องการฆ่าเชื้อและความสะอาดของสถานที่ให้ดี เลือกสถานที่ที่สะอาด มีมาตรฐาน ไว้ใจได้เพื่อไม่ให้สุนัขได้รับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อนติดมาด้วย

โรคเรื้อนในสุนัขสามารถติดต่อมายังคนได้หรือไม่

หากผู้เลี้ยงมีการสัมผัสกับหมาขี้เรื้อนก็มีโอกาสที่จะติดโรคมาสู่ตัวเองได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคเรื้อน หากติดมาจากการสัมผัสก็จะมีอาการแสดงก็คือมีผื่นแดง คัน ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวก็ไม่ต้องตกใจเพราะสามารถหายเองได้เนื่องจากภูมิในร่างกายจะทำการกำจัดเชื้อแปลกปลอมดังกล่าว

หมาขี้เรื้อนเป็นอาการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการของโรคผิวหนังที่ถ้าหากปล่อยไว้ไม่รักษาก็อาจจะทำให้เกิดการลุกลามที่รุนแรงจนผิวหนังอักเสบทั่วตัว ซึ่งหมาที่เลี้ยงในบ้านก็อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคเรื้อนได้ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลสุนัขที่เลี้ยงไว้เรื่องของความสะอาดและสุขอนามัยเพราะโรคเรื้อนนั้นสามารถติดมายังผู้เลี้ยงได้

 

อ่านเรื่องราวสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม;

  • รู้ถึงสาเหตุและวิธีการดูแลสุนัข ดูแลอย่างไรดีเมื่อสุนัขถ่ายไม่ออก
  • ชิวาว่าท้องกี่เดือน และวิธีการดูแลเมื่อชิวาวาตั้งท้อง
  • วิธีสังเกต ชิวาว่าใกล้คลอดแล้ว และสิ่งที่เจ้าของควรทำ
  • อันตรายจากการนอนกับแมว พร้อมวิธีป้องกันอย่างได้ผล
  • ทำอย่างไรดี เมื่อน้องแมวเบื่ออาหาร เรามีคำตอบ!
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Filed Under: น้องหมา Tagged With: ขี้เรื้อน, สุนัขขี้เรื้อน, หมาขี้เรื้อน, อาการขี้เรื้อนในสุนัข, โรคขี้เรื้อน

ABOUT BOX MEAW

@BoxMeaww
ผู้ที่ชื่นชอบน้องหมา และน้องแมว เป็นชีวิตจิตใจ

Reader Interactions

You must log in to post a comment.

Primary Sidebar

Recent Posts

  • อายุของหมา เทียบกับอายุคนเป็นกี่ปี และการดูแลหมาแต่ละช่วงวัย
  • นิสัยสุนัขพันธุ์ต่างๆ เป็นอย่างไร ต้องรู้ก่อนคิดจะเลี้ยง
  • เรื่องน่ารู้ กับการเลี้ยงนก ต้องรู้อะไรบ้างถ้าอยากเลี้ยง
  • 7 เรื่องที่ทาสแมวต้องรู้ ถ้าคิดจะเลี้ยงแมวในคอนโด
  • สุนัขพิทบูล สุนัขพันธุ์ใหญ่ ขาโหดที่หลายคนนิยมเลี้ยง

ติดตามผ่านทาง Facebook

  • Popular

Recent Comments

    Categories

    • น้องต่าย
    • น้องนก
    • น้องปลา
    • น้องหมา
    • น้องแมว
    • อลาสกัน คลี ไค
    • อลาสกัน มาลามิวท์
    • เรื่องราวอื่น ๆ
    • ไซบีเรียน ฮัสกี้

    Archives

    • April 2022
    • February 2022
    • January 2022
    • November 2021
    • October 2021
    • September 2021
    • August 2021
    • July 2021
    • June 2021
    • May 2021
    • April 2021
    • March 2021
    • November 2020
    • October 2020
    • September 2020
    • August 2020
    • July 2020
    • June 2020
    • May 2020
    • April 2020
    • March 2020
    • January 2020
    • December 2019
    • November 2019
    • July 2019

    Before Footer

    ติดตามผ่าน Instagram

    Follow on Instagram
    • Home
    • Privacy Policy
    • Contact

    Copyright © 2023 · Wellness Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in