ช่วงที่น้องหมาตั้งท้องเป็นช่วงที่ต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะว่าช่วงตั้งท้องร่างกายของน้องหมามีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ โดยเฉพาะการสังเกตสิ่งแปลกปลอมที่ไหลออกมาจากอวัยวะเพศของน้องหมา ถ้าน้อง หมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลออก มาถือว่าเป็นภาวะที่ต้องได้รับการตรวจเช็คอย่างละเอียดว่า น้ำที่ไหลออกมานั้นเกิดจากอะไร เป็นอันตรายต่อน้องหมาหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก
การตั้งท้องของน้องหมา
น้องหมาตั้งท้องประมาณ 61-63 วันหรือประมาณ 2 เดือนกว่า ๆ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยน้องหมาสายพันธุ์เล็กจะใช้เวลาในการตั้งท้องน้อยกว่าน้องหมาสายพันธุ์ใหญ่ แต่ก็ต่างกันไม่มากนัก ซึ่งการสังเกตน้องหมาตั้งท้องมีข้อสังเกตได้ ดังนี้
อารมณ์หงุดหงิดง่าย
น้องหมาส่วนมากเมื่อตั้งท้องจะมีอารมณ์ขี้หงุดหงิดและไม่ยอมให้สัมผัสที่บริเวณท้อง แต่ก็มีบางตัวซึ่งเป็นส่วนน้อยที่จะขี้อ้อนมากกว่าปกติ
กินน้อยลง
น้องหมาที่เริ่มตั้งท้องใหม่ ๆ จะกินอาหารน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังจากการปฏิสนธิ เนื่องจากในช่วงนี้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายซึ่งจะส่งผลให้น้องหมารู้สึกเบื่ออาหารจึงกินอาหารน้อยลง
อาเจียน
น้องหมาบางตัวอาจอาเจียนหลังจากที่กินอาหารเข้าไป การอาเจียนนี้จะมีลักษณะคล้ายกับอาการแพ้ท้องของคน ซึ่งการอาเจียนเป็นอาการที่พบได้น้อยมากในน้องหมา
เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
เต้านมของน้องหมาที่ตั้งท้องจะมีขยายขนาดใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและที่หัวนมจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มกว่าปกติ เนื่องจากช่วงที่ตั้งท้องจะมีเลือดไหลมาที่บริเวณเต้านมและหัวนมมากกว่าขึ้นนั่นเอง
น้ำหนักเพิ่มขึ้น
หลังจากที่ผ่านช่วงแพ้ท้องหรือ 2-3 สัปดาห์แรกไปแล้ว ในสัปดาห์ที่ 4 น้องหมาจะกินอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด
หลังจากที่น้องหมาตั้งท้องได้ประมาณ 4 สัปดาห์จะมีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งหากของเหลวที่ไหลออกมาเป็นสีขาวใสถือว่าปกติ แต่หากหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลออก สีแดงคล้ายเลือดอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ แต่ว่าถ้าไหลออกมาในช่วงใกล้คลอดถือว่าปกติ
การดูแลน้องหมาตั้งท้อง
การดูแลน้องหมาที่ตั้งท้องก็เพื่อให้แม่หมาและลูกหมาที่อยู่ในท้องมีสุขภาพที่ดี ซึ่งการดูแลน้องหมาจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ดังนี้
ระยะที่ 1
ช่วงที่น้องหมาเริ่มตั้งท้องจนอายุท้อง 3 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงนี้บางครั้งเจ้าของอาจจะยังไม่รู้ว่าน้องหมาท้อง ดังนั้นหากนำน้องหมาไปผสมพันธุ์แล้ว ช่วงนี้ควรลดการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก อย่างการกระโดด การวิ่งเร็ว ๆ เพื่อช่วยให้ตัวอ่อนทำการฝังตัวได้ดีขึ้น
ระยะที่ 2
ช่วงที่น้องหมาตั้งท้องได้ประมาณ 3-6 สัปดาห์ ระยะที่สองของการตั้งท้องเจ้าของจะเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของน้องหมาได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะด้านรูปร่างและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ช่วงนี้ควรให้อาหารสำหรับหมาท้อง โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงกว่าปกติ วิตามินและแคลเซียม
ระยะที่ 3
ช่วงที่น้องหมาตั้งท้องได้ประมาณ 6-9 สัปดาห์ ช่วงนี้ควรเพิ่มทั้งมื้ออาหารและปริมาณอาหารให้มากขึ้น 1-2 เท่า เพราะลูกหมาที่อยู่ในท้องกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการสารอาหารในปริมาณที่มากขึ้น
การดูแลน้องหมาที่ตั้งท้องในช่วงต่าง ๆ จะเห็นว่าไม่ยาก ซึ่งเจ้าของจะพบว่าในช่วงที่น้องหมาท้องมักจะมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดอยู่เป็นประจำ ซึ่งของเหลวที่ไหลออกมานี้ เจ้าของจะต้องสังเกตให้ดี เพราะน้ำที่ไหลออกมาจะเป็นตัวที่ช่วยบ่งบอกถึงความผิดปกติของการท้องได้อีกด้วย
น้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลออกมาผิดปกติหรือไม่
อย่างที่เราทราบว่าน้องหมาที่ท้องมักจะมีน้ำไหลออกจากช่องคลอดอยู่แล้ว ซึ่งของเหลวที่ไหลออกมาที่พบส่วนมากจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
ของเหลวใส
ของเหลวใสจะมีลักษณะเป็นน้ำหรือเมือกที่ขาวใสไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งเจ้าของจะเห็นติดอยู่ที่อวัยวะเพศของน้องหมา การที่มีของเหลวใสหรือน้ำใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอดถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้
ไม่ใช่ของเหลวใส
นอกจากของเหลวใสแล้ว บางครั้งน้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล สีแดงหรือสีใสปนเลือดออกมาจากช่องคลอดสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามระยะเวลาที่พบการไหล คือ
2.1 น้ำไหลระหว่างตั้งท้อง
หากน้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล สีแดงหรือมีเลือดปนออกมาระหว่างที่ตั้งท้องอยู่ ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องกังวลและต้องรีบพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์ เพราะการที่หมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล แดงหรือมีเลือดปน แสดงว่าน้องหมาอาจมีความเสี่ยงที่จะแท้งลูกได้ ดังนั้นเมื่อเจ้าของเห็นว่าน้องหมามีของน้ำหรือของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดแบบนี้ควรรีบพาน้องหมาไปพบสัตว์แพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อทำการตรวจว่าเกิดภาวะแท้งคุกคามหรือมีความผิดปกติกับลูกหมาที่อยู่ในท้องหรือไม่
2.2 น้ำไหลช่วงที่ใกล้กำหนดคลอด
หากน้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล สีแดงหรือมีเลือดปนออกมาในช่วงที่ใกล้กำหนดคลอด แสดงว่าน้องหมาใกล้จะคลอดแล้ว เจ้าของต้องทำการเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับทำคลอดให้พร้อม หากเป็นสุนัขที่สัตวแพทย์แจ้งว่าต้องคลอดในความดูแลของสัตวแพทย์ เจ้าของต้องทำการแจ้งกับสัตวแพทย์ เพื่อทำการนัดหมายและเตรียมตัวทำคลอด ซึ่งการที่น้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล สีแดงหรือมีเลือดปนแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติไม่เป็นอันตรายต่อแม่หมาและลูกหมาที่อยู่ในท้อง
สาเหตุที่น้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลไหลออกจากช่องคลอด
ในที่นี้จะกล่าวถึงการที่น้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล สีแดงหรือมีเลือดปนในช่วงระหว่างตั้งท้อง ซึ่งการมีน้ำแบบนี้ออกมา ส่วนมากน้องหมาจะอยู่ในเสี่ยงที่จะแท้งลูกหรือลูกหมาที่อยู่ในท้องเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุที่ทำให้น้องหมาสิ้นสุดการท้องมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
การติดเชื้อ
การติดเชื้อเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่ทำให้น้องหมาแท้งหรือลูกหมาที่อยู่ในท้องเสียชีวิต ซึ่งเชื้อที่ทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคาม เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียโรคบรูเซลโลซีส,โรคเลปโตสไปโรซีสหรือโรคฉี่หนู, เชื้อไวรัสเฮอร์ปิไวรัส, อะดิโนไวรัส, เชื้อไมโคพลาสมา, เชื้อยูเรียพลาสมา, เชื้อโปรตัวซัว เป็นต้น
จากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่การติดเชื้อ
สาเหตุที่ทำให้หมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลซึ่งบ่งบอกถึงภาวะแท้งที่เกิดจากการไม่ติดเชื้อมีดังนี้
2.1 การผสมเลือดชิด
หรือความผิดปกติทางพันธุกรรม ดังนั้นเจ้าของควรให้น้องหมาทำการผสมพันธุ์กับหมาที่มากจากคลอกอื่นหรือฟาร์มอื่น ไม่ควรให้น้องหมาผสมพันธุ์กับน้องหมาที่เป็นลูกพ่อแม่พันธุ์เดียวกันหรือเกิดในครอกเดียวกัน เพราะเป็นมีเลือดที่ชิดกัน ซึ่งจะทำให้น้องหมาแท้งได้ง่าย
2.2 การขาดสารอาหาร
ช่วงที่น้องหมาท้องจะต้องได้รับสารอาหารมากกว่าปกติ เพื่อนำไปเลี้ยงลูกหมาที่อยู่ให้ท้องให้เจริญเติบโต แต่ถ้าแม่หมาได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจนถึงขั้นร่างกายขาดสารอาหาร ร่างกายจึงมีสารอาหารไม่เพียงพอที่จะนำไปเลี้ยงลูกหมาที่อยู่ในท้องจนในที่สุดลูกหมาก็จะขาดสารอาหารและตาย ทำให้น้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล สีแดงหรือมีเลือดปนออกจากช่องคลอด
2.3 อาการป่วย
อาการป่วยที่ทำให้หมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลที่แสดงถึงการแท้งของน้องหมา คือ โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ อย่าง Hypothyroidism, โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน อย่าง Immune-mediated hemolytic anemia, โรคมะเร็งและความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ อย่าง มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก เป็นต้น
2.4 การได้รับสารพิษหรือยาบางชนิด
สารพิษก็อย่างเช่น ปรอท ตะกั่ว นิโคติน ยาฆ่าแมลงบางชนิด หรือยาบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาคลอแรมเฟนิคอล ยาแอสไพริน เป็นต้น ซึ่งยาพิษและยาเหล่านี้จะส่งผลต่อน้องหมาที่ตั้งท้อง ทำให้เกิดภาวะแท้งแบบเฉียบพลันหรือทำให้ไม่ตัวอ่อนไม่สามารถทำการฝังตัวได้ ส่งผลให้หมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล สีแดงหรือมีเลือดปนที่แสดงถึงภาวะแท้งนั่นเอง
2.5 การได้รับบาดเจ็บ
บางครั้งเจ้าของไม่รู้ว่าน้องหมาของตนตั้งท้อง จึงพาน้องหมาไปออกกำลังกายหรือเล่นแบบที่ต้องออกแรงหรือกระโดดจากที่สูง ทำให้น้องหมาได้รับแรงกระแทกที่รุนแรง ส่งผลให้หมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลออกจากช่องคลอกและแท้งได้
จะเห็นว่าการที่น้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลไหลออกมาจากช่องคลอดระหว่างการตั้งท้องนั้นเป็นสิ่งที่ผิดปกติและเป็นอันตรายต่อน้องหมาที่ตั้งท้องด้วย ดังนั้น หากเจ้าของสังเกตว่าน้องหมามีน้ำไหลออกจากช่องคลอดที่ไม่ใช่น้ำใส ๆ แล้วต้องดูแลน้องหมาให้ดี
วิธีดูแลน้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล
สำหรับเจ้าของที่มีน้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลออกมาจากช่องคลอดที่บ่งบอกถึงภาวะแท้งหรือเป็นอันตรายต่อลูกหมาในท้อง เจ้าของมีขั้นตอนการดูแลน้องหมาท้องดังนี้
สังเกตอาการทั่วไป
เมื่อเจ้าของสังเกตเห็นหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลออกจากช่องคลอดแล้ว ให้สังเกตพฤติกรรมอย่างอื่นของน้องหมาด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เช่น ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ร่วมด้วยหรือไม่ เพราะหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น แสดงความการท้องของน้องหมาเกิดความผิดปกติขึ้นอย่างแน่นอน แต่หากน้องหมายังร่าเริงและกินอาหารได้อย่างปกติ ให้ดูปริมาณของน้ำสีน้ำตาลที่ไหลออกมาว่ายังไหลอยู่หรือไม่ หากไม่ไหลออกมาเพิ่ม แสดงว่าน้องหมาตั้งท้องไม่ได้อยู่ในภาวะเสี่ยงแท้งหรือลูกหมาตายในท้อง
พาไปพบสัตวแพทย์
หากสังเกตอาการชัดเจนแล้วว่ามีความผิดปกติ โดยมีอาการซึม เบื่ออาหารร่วมกับหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลออกจากช่องคลอด เจ้าของต้องรีบพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดว่าน้องหมาทีภาวะแท้งคุกคามหรือลูกหมาที่อยู่ในท้องยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ โดยสัตวแพทย์จะทำการอัตราซาวด์และวัดสัญญาณชีพของลูกหมาในท้องว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ หากลูกหมาเสียชีวิตในท้อง สัตวแพทย์จะทำการนำลูกหมาออกจากท้องเพื่อรักษาชีวิตของแม่หมาที่ตั้งท้องไว้
จะเห็นว่าการที่น้อง หมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาลออก จากช่องคลอดนั้นเป็นทั้งสัญญาณดีและสัญญาณร้าย ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่พบว่าเป็นระยะระหว่างตั้งท้องหรือช่วงใกล้คลอด ดังนั้นเมื่อเห็นน้องหมาท้องแล้วมีน้ำสีน้ำตาล หรือน้ำใสๆ ออกจากช่องคลอด เจ้าของอย่าเพิ่งตกใจ แต่ให้พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่ถ้าจะให้มั่นใจควรพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์จะดีที่สุด
อ่านเรื่องราวสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม