
ปัจจุบันมีคนนิยมเลี้ยงกระต่ายเป็นเพื่อนมากขึ้น ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ เช่น ใช้เงินเริ่มต้นน้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ซึ่งกระต่าย 1 ตัวมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพันแล้วแต่พันธุ์ของกระต่ายที่เลี้ยง ถ้าเป็นพันธุ์ต่างประเทศก็ราคาสูงหน่อย และเสียค่าเลี้ยงดูน้อย ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ในการเลี้ยง ที่สำคัญคือ กระต่ายเป็นสัตว์ที่สะอาด ไม่มีกลิ่น ฉี่หรืออึก็ไม่เหม็น จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากขึ้น
สำหรับใครที่สนใจเลี้ยงกระต่าย ควรต้องทำความเข้าใจวิธีการเลี้ยงให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อมาเลี้ยง เพราะวิธีการเลี้ยงกระต่ายในแต่ละช่วงวัยนั้นขึ้นอยู่กับ อายุกระต่าย ด้วยว่าต้องดูแลแบบไหนให้กระต่ายมีสุขภาพดี และมีอายุที่ยืนยาว มาดูวิธีการเลี้ยงที่เหมาะกับอายุกระต่าย ในแต่ละช่วงวัยกัน
การดูแลกระต่ายเมื่อแรกซื้อมาเลี้ยง
โดยปกติช่วง อายุกระต่าย ที่ดีที่เราควรซื้อมาเลี้ยง คือควรอยู่ในช่วง 45 – 90 วัน หาก อายุกระต่าย น้อยกว่านี้ กระต่ายอาจยังไม่หย่านม และเกิดอาการตื่นตกใจกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของการย้ายที่อยู่และอาหาร อาจทำให้กระต่ายตายหรือท้องเสียได้ แต่หากซื้อกระต่ายที่มีอายุเกินจากนี้ ความคุ้นเคยที่กระต่ายจะมีกับคนเลี้ยงใหม่ จะทำให้เกิดการปรับตัวช้า ใช้เวลาในการปรับตัวและสร้างความคุ้นเคยกันนานมากขึ้น
ที่อยู่ที่เหมาะและดีกับกระต่ายคือ ควรเป็นกรงลวดที่กันสนิมหรือเป็นกรงไม้ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก ขนาดกว้างพอที่จะให้เขาได้วิ่งเล่นได้บ้าง ซึ่งควรมีขนาดอย่างน้อยที่สุดควรเริ่มต้นที่ขนาด 45 x 70 x 45 ซม. โดยเลือกสถานที่ตั้งให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ตากแดด ตากฝน อยู่ในมุมที่สงบ เพราะกระต่ายเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างอ่อนไหวง่าย หากกรงอยู่ในตำแหน่งที่เสียงดัง กระต่ายจะตื่นตกใจง่าย และทำให้เกิดความเครียด และอาจะทำให้ไม่อยากอาหาร จนป่วยตายได้
ที่ใส่น้ำและอาหาร ควรต้องเลือกแบบที่ฐานกว้างสักหน่อย เผื่อว่าเขาเล่นซนแล้วอาจทำให้น้ำหกหรืออาหารคว่ำได้
อาหารของกระต่ายในอายุช่วงนี้หากยังไม่หย่านม ให้หาซื้อนมสำหรับแมวหรือสุนัข มาให้เขากินแทนนมแม่ได้ในระหว่างที่รอปรับเปลี่ยนอาหาร เขาจะกินหญ้า ผัก ผลไม้ แต่หากเป็นกระต่ายที่เขาหย่านมแล้ว อาหารหลักของเขาเลยก็คือหญ้า จะเป็นหญ้าแห้งหรือหญ้าสดก็ได้ หากเป็นหญ้าสดควรล้างทำความสะอาดให้มั่นใจว่าจะไม่มีสารปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลงหรือสารพิษต่าง ๆ หญ้าที่ดีกับระบบการย่อยอาหารของกระต่าย และดีกับสุขภาพร่างกายของกระต่ายที่สุด คือ หญ้าอัลฟัลฟ่า เพราะมีสารอาหาร โปรตีน และ แคลเซียม ที่ร่างกายของกระต่ายต้องการอย่างครบถ้วน
อ่านเพิ่มเติม;
ทำยังไงถึงจะรู้ว่า กระต่ายท้อง {การตรวจเช็คอาการเบื้องต้น}
มาดูกันดีกว่าว่า กระต่ายกินอะไรเป็นอาหาร
รักษาอย่างไรดีเมื่อน้อง กระต่ายขนร่วง เรามีคำแนะนำมาฝาก
การเลี้ยงกระต่ายโตที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
กระต่ายที่โตแล้วสามารถกินอาหารได้ทุกอย่าง ทั้งหญ้า ผักสด ผลไม้สด แต่อัตราส่วนสำหรับอาหารของกระต่ายวัยนี้ ควรเน้นไปที่หญ้าให้มาก เพราะหญ้าจะมีเยื่อใยที่ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดี ส่วนผักสดและผลไม้ก็ให้กินบ้าง แต่ไม่ต้องมาก ควรให้ในปริมาณ 15 % ของอาหารที่กินในแต่ละวัน เพราะในผักและผลไม้จะมีน้ำตาลและแคลเซียมมาก ซึ่งกระต่ายวัยนี้ ไม่ต้องการแคลเซียมมากเหมือนกระต่ายแรกคลอด การได้รับแคลเซียมมากจะส่งผลร้ายกับกระต่ายมากกว่าผลดี และหญ้าที่ดีที่สุดสำหรับกระต่ายวัยนี้คือ หญ้าทิมโมที ซึ่งผู้เลี้ยงควรจะให้สลับกันเพื่อให้ไม่เบื่ออาหาร และเป็นการช่วยให้ระบบย่อยอาหารเกิดสมดุลอีกด้วย
ควรปล่อยให้กระต่ายออกมานอกกรงบ้าง ให้โอกาสเขาออกมาวิ่งเล่น ออกกำลังกายบ้าง ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในกรงแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องระวังเรื่องสายไฟ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เพราะนิสัยที่ติดตัวของกระต่ายคือ ชอบแทะ หากปล่อยให้ออกมาวิ่งเล่นเขาอาจลับฟันด้วยการแทะโซฟา สายไฟ ของใช้ที่เป็นพลาสติกได้
ให้อุ้มและเล่นกับเขาในบางเวลาเพื่อสร้างความคุ้นเคย พูดคุยเรียกชื่อเขาบ่อย ๆ ซึ่งวิธีการอุ้ม คือ ใช้มือหิ้วช่วงคอไปถึงช่วงสันหลังและใช้อีกมือหนึ่งประคองก้นเขาด้วย ห้ามเด็ดขาดคือการหิ้วเขาจากใบหู เพราะส่วนของใบหูกระต่ายจะมีเส้นเลือดฝอยเป็นจำนวนมาก อาจจะทำให้เกิดความบอบช้ำกับน้องกระต่ายได้
วิธีการเลี้ยงกระต่ายในช่วงที่ตั้งครรภ์
การดูแลกระต่ายช่วงนี้ต้องดูแลเรื่องอาหารให้ดี คือ ให้บ่อย ๆ บำรุงร่างกายด้วยอาหารที่ช่วยเสริมสร้างโปรตีน และช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม เช่น หญ้าอัลฟัลฟา หญ้าทิมโมที หญ้าแพงโกล่า ข้าวโพดดิบ ขึ้นฉ่ายทั้งไทยและฝรั่ง (เซเลอรี่) รวมทั้งผักชนิดอื่น ๆ สามารถให้กินได้ตลอดทั้งวัน โดยปกติกระต่ายจะใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 31 – 33 วันแล้วแต่พันธุ์ด้วย เมื่อใกล้คลอดแม่กระต่ายจะเริ่มกัดขนตัวเองเพื่อใช้รองรังที่คลอดและเริ่มขนวัสดุอื่น ๆ มาไว้เพื่อเตรียมรังคลอดลูกกระต่าย ซึ่งกระต่ายจะคลอดครั้งละ 5-12 ตัว
วิธีการเลี้ยงกระต่ายในช่วงแรกเริ่มคลอด
กระต่ายแรกคลอด ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากเพราะวิธีการดูแลที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้ลูกกระต่ายมากขึ้น โดยเฉพาะกระต่ายสาวที่เพิ่งตั้งท้องแรก ตามสถิติแล้วลูกที่คลอดออกมาจะมีโอกาสตายและรอดชีวิตครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว ซึ่งคนเลี้ยงต้องคอยดูแลให้ดี ธรรมชาติของกระต่ายจะไม่ลืมตาทันทีแต่จะใช้เวลานานถึง 12 วัน ถึงจะลืมตาได้ หลังจากคลอดคนเลี้ยงต้องดูว่าลูกกระต่ายได้กินนมหรือยัง โดยสังเกตจากพุงหรือท้องของลูกกระต่ายว่าพองขึ้นมาบ้างไหม ซึ่งโดยธรรมชาติของกระต่าย วันแรกแม่กระต่ายจะยังไม่ได้ให้นมลูก แต่จะแอบย่องไปให้นมลูกครั้งละไม่กี่นาทีเพราะเป็นสัญชาตญาณที่กลัวภัยอันตราย ซึ่งไม่ต้องกังวลหาก 3 วันแรกลูกกระต่ายไม่ได้กินนม เพราะหลังคลอดเขาจะมีสารอาหารที่พอเลี้ยงร่างกายในมีชีวิตรอดอยู่ได้นานถึง 3 วัน หากเกินกว่านั้น คนเลี้ยงต้องเป็นคนช่วย โดยเอาลูกกระต่ายไปอยู่ให้ใกล้เต้านมแม่กระต่ายที่สุดเพื่อกระตุ้นการกินนม
การเลี้ยงกระต่ายในแต่ละช่วงอายุกระต่าย ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยาก หากแต่ต้องอาศัยความเข้าใจธรรมชาติของกระต่ายอย่างถ่องแท้ และเลี้ยงเขาด้วยความรักและความเอาใจใส่ เพียงเท่านี้ก็ทำให้เขามีสุขภาพดี แข็งแรง และอายุยืนได้แล้ว
อ่านสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม;
ช่วยด้วยครับ! หมาหายใจแรง [ผิดปกติหรือเปล่า]
รวมมิตรยอดฮิต แมวขนสั้น ที่คนไทยชอบเลี้ยง
ดีใจด้วย! คุณกำลังมีหลาน!! สัญญาณบอกเหตุน้อง แมวท้อง
เจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) ตื่นตัว เรียนรู้ไว เป็นนักเตือนภัยที่ดี