สาระน่ารู้เกี่ยวกับน้องกระต่าย วันนี้จะขอกล่าวถึงวิธีการเลือก อาหารกระต่ายที่ดีที่สุด ซึ่งกระต่ายในที่นี้ ขอเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของกระต่ายเลี้ยงสำหรับเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ไม่รวมถึงกระต่ายที่เลี้ยงเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น กระต่ายทดลอง กระต่ายเนื้อ หรือกระต่ายตามธรรมชาติ เพราะกระต่ายที่เลี้ยงในจุดประสงค์ที่ต่างกันจะเน้นหรือเลือกอาหารในลักษณะที่ต่างกันไป
อาหารกระต่ายที่ดีที่สุด
อาหารของกระต่ายที่ดีที่สุดแต่ละช่วงวัยจะมีอาหารที่ดีที่สุดต่างกัน ขอแบ่งวัยกระต่ายออกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายว่า กระต่ายวัยไหนควรให้อาหารประเภทไหนถึงจะดีต่อสุขภาพของกระต่ายมากที่สุด ดังนี้
กระต่ายวัยแรกคลอด
หลายคนมีความคิดว่า กระต่ายเป็นสัตว์กินพืช ดังนั้นอาหารที่ดีที่สุดของกระต่ายก็ต้องเป็นพืช เป็นหญ้า ความเชื่อนี้ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว เพราะหญ้าเหมาะกับกระต่ายที่โตแล้ว กระต่ายก็เหมือนคนเราคือ เมื่อแรกคลอด สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับน้องกระต่ายเพิ่งคลอดคือนมแม่ แต่หากเราได้กระต่ายที่แม่กระต่ายไม่ได้เลี้ยง เราต้องหานมอื่นมาให้เขากินแทนเพื่อให้สร้างภูมิคุ้มกันและสร้างการเจริญเติบโต นมที่เหมาะสำหรับกระต่ายเด็กตามท้องตลาดที่มีขายทั่วไป คือนมที่เขาขายสำหรับน้องหมา น้องแมว หรือนมแพะก็ได้ ไม่แนะนำให้เลี้ยงด้วยนมวัวเพราะอาจทำให้น้องท้องเสียได้ และสารอาหารที่อยู่ในนมวัวไม่เหมาะกับกระต่าย
ระยะเวลาของการให้นมกระต่ายแรกคลอดอยู่ในช่วง 2 – 4 เดือน โดยสังเกตจากลูกกระต่ายว่าสามารถแทะหรือเคี้ยวผักหรือหญ้าได้หรือยัง หากสังเกตว่าเขาเริ่มแทะได้ก็ค่อยเริ่มให้ผักหรือหญ้า แล้วค่อย ๆ ลดปริมาณนมที่เลี้ยงลงเพราะเมื่อเขาทานผัก หญ้าได้แล้ว นมจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป
กระต่ายเด็ก หรือกระต่ายที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
อาหารกระต่ายที่ดีที่สุด ของกระต่ายเด็กคือ
- หญ้าสำหรับกระต่าย
- ผักสด
- อาหารเม็ด
- ของกินเล่น เช่น ผลไม้สด หรือผลไม้อบแห้ง
- น้ำสะอาด
อ่านสาระกระต่ายเพิ่มเติม;
กระต่ายขนร่วง ไม่รู้จะทำยังไงดี เรามีคำตอบ
อายุกระต่าย กับวิธีการเลี้ยงในแต่ละช่วงวัย
สาระสัตว์เลี้ยงน่ารู้ [2020]: ลักษณะของกระต่าย
ทำยังไงถึงจะรู้ว่า กระต่ายท้อง {การตรวจเช็คอาการเบื้องต้น}
หญ้าสำหรับกระต่าย
หญ้าสำหรับเลี้ยงกระต่ายนั้นสามารถให้ได้ทั้งหญ้าสด และหญ้าแห้ง ซึ่งจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน หญ้าสดจะมีความชุ่มชื้นมากกว่า แต่ควรระวังเรื่องของสิ่งปนเปื้อนที่จะมากับหญ้า เช่น ยาฆ่าแมลง พยาธิต่าง ๆ และระวังเรื่องอาการท้องเสียเพราะระบบการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของกระต่ายจะดูดซึมรวดเร็วมากและระบบการย่อยของกระต่ายจะบอบบางมาก หากได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปในปริมาณมาก อาจจะทำให้กระต่าย ท้องอืด ท้องเสีย จนเสียชีวิตได้
หญ้าสดควรให้กระต่ายที่อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะกระต่ายที่ไม่ได้กินนมแม่ เพราะจะไม่มีภูมิคุ้มกันและอาจทำให้ท้องเสียจนถึงตายได้
หญ้าแห้ง หรือฟาง ถือเป็นอาหารหลักของกระต่ายวัยนี้เลยก็ว่าได้ หญ้าแห้งมีประโยชน์ต่อระบบการย่อยเหมือนกับหญ้าสด มีคุณค่าทางสารอาหารเหมือนกัน และมีกากใยช่วยในระบบการย่อยได้ดีเช่นกัน แต่อาจจะมีความชื้นที่น้อยกว่าหญ้าสดอยู่บ้าง การเลี้ยงควรจะให้เขาได้กินสลับหมุนเวียนกันทั้งหญ้าแห้ง หญ้าสด เพื่อสร้างสมดุลของระบบย่อยและเป็นการเปลี่ยนรสชาติของอาหารที่กระต่ายได้กินด้วย
หญ้าที่เหมาะจะเป็น อาหารกระต่ายที่ดีที่สุด มีดังนี้
- หญ้าทิมโมที (Timothy)
เป็นหญ้าที่ถือว่าดีต่อกระต่ายมากที่สุด มีไฟเบอร์สูง ช่วยในเรื่องของการลับฟันกระต่ายให้แข็งแรง มีสารอาหารครบ
- หญ้าอัลฟาฟ่า (Alfalfa)
หญ้าอัลฟาฟ่า เป็นพืชตระกูลถั่วที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะในไทยเรายังปลูกเองยังไม่ได้ จึงทำให้ราคาหญ้าสูง เป็นหญ้าที่มีแคลเซียม ไฟเบอร์ และโปรตีนสูง เมื่อกระต่ายเริ่มกินหญ้าแล้ว นมก็จะไม่ย่อย จึงควรต้องให้กระต่ายหยุดกินนม อาหารที่จะมาช่วยทดแทนสารอาหารที่ได้จากนมก็คือหญ้าชนิดนี้ แต่เมื่อใดที่กระต่ายอายุถึง 6 เดือนแล้ว ความต้องการแคลเซียมจะลดลง ดังนั้นหลังจากที่กระต่ายอายุเกิน 6 เดือนไปแล้ว ต้องจำกัดปริมาณการกินหญ้าชนิดนี้ ให้ทานน้อยลง และงดให้หญ้าชนิดนี้เมื่อกระต่ายอายุเกิน 1 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้กระต่ายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้กระต่ายเป็นโรคนิ่วและเป็นโรคอ้วนได้
- หญ้าแพงโกล่า
สามารถหาได้ในราคาไม่แพง เพราะประเทศไทยเราปลูกได้ เป็นหญ้าที่มีเยื่อและใยสูง ช่วยในระบบการย่อยของกระต่าย
- หญ้าอื่น ๆ ที่เป็นหญ้าขน เช่น หญ้าออร์ชาด หญ้าโอ๊ต หญ้าบรอม เป็นต้น
Type of hay | dry matter (%) | Digestible Energy (kcal/kg) | Crude Protein % | Crude Fiber % | Calcium % |
Alfalfa hay | 90 | 1800* | 15.3* | 27.0* | 1.4* |
Barley hay | 87 | 1790 | 7.6 | 24.0 | .2 |
Barley straw | 91 | 1580 | 4.0 | 38.0 | .3 |
Bermuda grass hay | 92 | 1656* | 11* | 27.6* | .4* |
Clover hay red | 88 | 1760* | 17.3* | 21.8* | 1.3* |
Clover hay white | 92 | 2024* | 21.4* | 20.9* | 1.8* |
Lespedeza hay | 92 | 1290* | 12.7* | 28.1* | .9* |
Oat hay | 88 | 2000 | 7.3* | 29.5* | .3 |
Oat straw | 92 | 1640 | 4.1 | 37.0 | .3 |
Orchardgrass hay | 89 | 1829 | 9.8* | 30.0* | .3 |
Prairie hay | 92 | 1670 | 5.3 | 31.0 | |
Ryegrass hay | 86 | 2070 | 7.4 | 26.0 | .5 |
Sudan grass hay | 91 | 1860 | 7.3 | 33.0 | .5 |
Timothy hay | 89 | 2010 | 6.3* | 30.2* | |
Wheat hay | 88 | 1870 | 7.4 | 25.0 | .2 |
Wheat straw | 89 | 1340 | 3.2 | 37.0 | .2 |
Caribbean stylo (Stylosanthes hamata)* | 95.1 | 1980 | 11.1 | 41.7 |
ขอขอบคุณ ข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าแห้งจากเว็บไซต์ www.rabbit.org และ Nattapornjaidee.wordpress.com
ผักสด
กระต่ายเป็นสัตว์ที่กินผัก ผลไม้อยู่แล้ว แต่ไม่ควรให้กินในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีน้ำเยอะ ๆ เพราะจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ โดยเฉพาะกระต่ายที่อายุไม่ถึง 3 เดือน แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ให้กินเลย ควรต้องให้กินอยู่ เพราะผัก ผลไม้จะช่วยเพิ่มกากใย ให้ระบบการย่อยทำงานได้ปกติ โดยผักและผลไม้ที่แนะนำ เช่น บรอกโคลี แครอท และซาลารี่ เป็นต้น
ผักก็ควรเลือกเป็นผักใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง แตงกวา เป็นต้น ทั้งนี้หากซื้อผักและผลไม้มาจากตลาด ควรทำความสะอาดและล้างจนมั่นใจว่าไม่มีสารพิษตกค้างที่จะเป็นอันตรายกับกระต่าย และไม่ควรให้ทานในปริมาณมากเกิน 15 % ของอาหารที่เราเลี้ยง เพราะในผัก ผลไม้จะมีแคลเซียมและน้ำตาลสูง ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพของกระต่ายเอง
อาหารเม็ด
หลักในการเลือกซื้ออาหารเม็ดคือ เลือกที่มีสัดส่วนของกากใยและโปรตีนสูง และมีไขมันต่ำ โดยปกติจะไม่แนะนำให้กระต่ายกินอาหารเม็ดบ่อยและมากเกินไป เพราะกากใยที่ได้จะมีน้อยกว่ากลุ่มอาหารพวกหญ้าแห้ง และหากให้อาหารเม็ดมากไป จะทำให้กระต่ายอ้วนและได้รับแคลเซียมสูงเกินไป ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพของกระต่าย
ผลไม้ และผลไม้อบแห้ง
ผลไม้สำหรับกระต่าย ก็เหมือนขนมที่กินเล่นของคนเรา ผลไม้ทุกอย่างที่กระต่ายกินได้ เช่น กีวี ลูกพีช มะละกอ มะม่วงและแอปเปิล เป็นต้น และปริมาณก็คือไม่มากเกินไป รวมกับผักที่ทานคือ ไม่ควรเกิน 15 % ของอาหารที่กินทั้งหมด
น้ำสะอาด
น้ำสะอาดนับเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับระบบภายในร่างกายของกระต่าย ปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวันคือ 50-150 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากให้น้ำสะอาดในถ้วยควรเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ อย่างน้อยเปลี่ยนน้ำดื่ม 2 วันครั้ง เพราะอย่างที่เราทราบว่ากระต่ายเป็นสัตว์ที่มีร่างกายตอบสนองต่อความผิดปกติไวมาก หากดื่มน้ำไม่สะอาดเข้าไป อาจส่งผลต่อระบบย่อย และท้องร่วงได้
กระต่ายโต หรือกระต่ายที่มีอายุเกิน 1 ปี
กระต่ายที่อายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นกระต่ายที่โตแล้ว สามารถทานอาหารได้ทุกอย่างที่จะสามารถกินได้ แต่ในเรื่องของความสะอาดก็ยังต้องเน้นอยู่เหมือนกระต่ายเด็ก อาหารที่ให้ ควรเน้นไปที่หญ้าในปริมาณที่มากถึง 80% ส่วนที่เหลือก็หมุนเวียนและสลับกันไป
สำหรับใครที่สนใจอยากเลี้ยงกระต่ายและกำลังหาข้อมูล อาหารกระต่ายที่ดีที่สุด ก็ขอให้เข้าใจว่าอาหารกระต่ายในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับอายุกระต่ายที่เลี้ยงด้วย
อ่านสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม;
ช่วยด้วยครับ! หมาหายใจแรง [ผิดปกติหรือเปล่า]
รวมมิตรยอดฮิต แมวขนสั้น ที่คนไทยชอบเลี้ยง
รู้ทันโรคไร ขี้เรื้อน รักษาอย่างไรเมื่อน้องหมาของเราเป็นโรคขี้เรื้อน
คนรักแมวต้องรู้ โรค fip ภัยร้ายลูกรักของคุณ
กลิ่นปากไม่ใช่เรื่องตลก ทำยังไงดีเมื่อน้อง แมวมีกลิ่นปาก ผิดปกติ