• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

Box Meaww

บ๊อก ๆ เหมียว ๆ รอบรู้เรื่องสัตว์เลี้ยง

  • Home
  • น้องหมา
    • ไซบีเรียน ฮัสกี้
  • น้องแมว
  • น้องต่าย
  • เรื่องราวอื่น ๆ
Home » แมวข่วน ต้องระวัง! อาจติดเชื้อไข้แมวข่วนได้ โรคนี้เป็นยังไงต้องมาดู

แมวข่วน ต้องระวัง! อาจติดเชื้อไข้แมวข่วนได้ โรคนี้เป็นยังไงต้องมาดู

January 19, 2022 by Admin Meaww Leave a Comment

แมวข่วน ต้องระวัง! อาจติดเชื้อไข้แมวข่วนได้ โรคนี้เป็นยังไงต้องมาดู
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความน่ารักและเราก็เชื่อว่าหลาย ๆ บ้านน่าจะมีแมวเป็นสัตว์เลี้ยง และทาสแมวทุกคนก็ต้องรู้กันดีอยู่ว่าแมวมักจะมีนิสัยชอบข่วน ซึ่งการที่แมวข่วนนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามได้เลย เพราะคุณรู้หรือไม่ว่าการที่แมวข่วนถึงแม้ว่าแผลที่เกิดขึ้นจะไม่ได้รุนแรง แต่อาจเกิดการติดเชื้อไข้แมวข่วนได้ ซึ่งร้ายแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดได้เลยทีเดียว ดังนั้นวันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับโรคนี้กันว่าเป็นอย่างไร มีวิธีการรักษายังไงบ้าง และสามารถที่จะป้องกันได้ด้วยวิธีไหน เอาเป็นว่าไปดูกันเลยดีกว่า

Contents hide
1 ไข้แมวข่วน เกิดจากอะไร
2 อาการป่วย เมื่อติดเชื้อแมวข่วน
2.1 ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง
3 วิธีการรักษา
4 วิธีการป้องกันไข้แมวข่วน
4.1 Related

ไข้แมวข่วน เกิดจากอะไร

แมวข่วน

แมวข่วน หรือ ไข้แมวข่วน เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบที่ส่งผลกระทบต่อผิวหนัง เนื้อเยื่อข้างเคียง และต่อมน้ำเหลือง ทั้งยังสามารถแพร่กระจายตามกระแสเลือดซึ่งติดต่อกันได้จากการสัมผัสหรือคลุกคลีอยู่กับแมวเป็นประจำ หรือเมื่อถูกแมวกัด แมวเลีย หรือ แมวข่วน ก็อาจจะทำให้เกิดโรคนี้ได้ แต่โรคนี้เป็นโรคที่เราพบได้ไม่บ่อยและมักจะพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่

อาการป่วย เมื่อติดเชื้อแมวข่วน

สำหรับอาการของการติดเชื้อแมวข่วนหรือไข้แมวข่วนต้องบอกก่อนเลยว่าจะไม่เกิดอาการขึ้นทันที หลังจากที่ได้มีการสัมผัสกับแมวหรือหลังจากที่แมวข่วน แต่อาการโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อโดนแมวข่วนไปแล้วประมาณ 3-10 วัน ซึ่งหลังจากที่ได้มีการรับเชื้อจึงจะมีการแสดงอาการ แต่อาการที่เกิดขึ้นนั้นก็ขึ้นอยู่กับเชื้อที่ได้รับและสภาพร่างกายของผู้ป่วยเองด้วย โดยอาจจะมีสัญญาณบ่งบอกของอาการคือ มีตุ่มแดงเกิดขึ้นที่บริเวณถูกแมวข่วนหรือบริเวณที่ถูกแมวกัด ซึ่งอาจจะไม่รู้สึกเจ็บแต่จะมีสะเก็ดหรือมีน้ำหนอง แต่หลังจากนั้นไปอีก 2 สัปดาห์และถึงแม้ว่าตุ่มแดงจะหายไปแล้วก็อาจจะมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้น เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร มีต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นที่บริเวณถูกแมวข่วนหรือกัด บางรายมีอาการรุนแรงส่งผลกระทบต่อกระดูก ข้อต่อ ดวงตา สมอง โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ขวบ หรือในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการถูกแมวข่วนหรือไข้แมวข่วนมีดังต่อไปนี้

  1. โรคสมองจากตับ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากเชื้อแบคทีเรียที่ได้มีการกระจายเข้าสู่สมอง ในบางรายก็อาจจะทำให้สมองเสียหายอย่างถาวรหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
  2. ประสาทตาและจอประสาทตาอักเสบ ส่งผลทำให้เกิดการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน มีการมองเห็นบกพร่อง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ดวงตา และเมื่อการติดเชื้อหายเป็นปกติดีการมองเห็นก็จะกลับมาปกติ
  3. กระดูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูกส่งผลทำให้กระดูกเกิดความเสียหาย ในบางรายก็มีอาการที่รุนแรง จนอาจจะต้องตัดส่วนที่เป็นโรคออก
  4. กลุ่มอาการ Parinaud Oculoglandular Syndrome เป็นภาวะที่ดวงตาเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุและทำให้เชื้อเข้าสู่ดวงตาโดยตรง หรืออาจจะเข้าสู่ตามกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการตาแดง แต่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะแต่บางรายที่รุนแรงอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่เกิดการติดเชื้ออก สำหรับภาวะนี้จะพบได้น้อยมาก

วิธีการรักษา

การรักษาหากเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอาจจะไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่องจากสามารถหายได้เอง โดยการทานยาแก้อักเสบ หรือยาแก้ปวด แต่ในบางรายอาจจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยการเจาะเอาระบายสารคัดหลั่งออกมา แต่ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถหายได้เองในเวลา 2 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อไปยังอวัยวะอื่น ๆ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย

วิธีการป้องกันไข้แมวข่วน

เราสามารถป้องกันการเกิดโรคไข้แมวข่วนได้ดังนี้

1.เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณถูกแมวข่วนหรือถูกกัด ควรทำการล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เพื่อป้องกันไม่เกิดการติดเชื้อนั่งเอง

2.หลังจากที่สัมผัสแมวหรือหลังจากที่เล่นกับแมวเสร็จแล้วควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ เพราะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันจะทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายและหมั่นทำความสะอาดบ้านและแมวบ่อย ๆ

3.หลีกเลี่ยงการเล่นกับแมวแรงเพราะหากแมวหงุดหงิดหรือโมโห จะทำให้เขาขาวนหรือกัดได้

4.ควรเลี้ยงแมวระบบปิด ไม่ควรปล่อยออกไปข้างนอก เพราะจะทำให้เขาได้รับเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย หลีกเลี่ยงการสัมผัสแมวจรจัด

5.ตัดเล็บแมวให้สั้นอย่างสม่ำเสมอ

โรคไข้แมวข่วนอาจจะเป็นโรคที่มองดูแล้วไม่ได้มีอะไรร้ายแรงมากนักแต่ หากปล่อยปละละเลยเวลาที่โดนแมวข่วนอาจจะทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ง่าย เพราะฉะนั้นแล้วหลีกเลี่ยงและพยายามอย่าให้แมวข่วน ควรเลี้ยงและควรเล่นกับเขาให้ถูกต้อง พร้อมกับให้เขาได้รับวัคซีนครบถ้วน เพื่อป้องการติดเชื้อและการเกิดโรคต่าง ๆ ดังนั้นหากคุณโดนแมวข่วนอย่าชะล่าใจรีบทำความสะอาดแผล และดูแลสุขภาพให้ดีเพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผลที่ตามมานั้นจะเป็นอย่างไร

 

อ่านสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม

  • น้องไซบีเรียนฮัสกี้เป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้
  • อาการแมวหลังทำหมัน สาระที่เจ้าทาสควรรู้ ^^
  • 4 ข้อที่จะทำให้คุณรู้จักสุนัขพันธุ์อลาสกัน คลีไคมากขึ้น
  • อาหารชนิดใดบ้าง ที่ไม่ควรให้สุนัขไซบีเรียนฮัสกี้กิน
  • กระต่ายหูตก มีสายพันธุ์อะไรบ้าง มาดูกันดีกว่า
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Filed Under: น้องแมว Tagged With: ถูกแมวข่วน, เลี้ยงแมว, แมวข่วน, โรคไข้แมวข่วน, ไข้แมวข่วน

ABOUT BOX MEAW

@BoxMeaww
ผู้ที่ชื่นชอบน้องหมา และน้องแมว เป็นชีวิตจิตใจ

Reader Interactions

You must log in to post a comment.

Primary Sidebar

Recent Posts

  • อายุของหมา เทียบกับอายุคนเป็นกี่ปี และการดูแลหมาแต่ละช่วงวัย
  • นิสัยสุนัขพันธุ์ต่างๆ เป็นอย่างไร ต้องรู้ก่อนคิดจะเลี้ยง
  • เรื่องน่ารู้ กับการเลี้ยงนก ต้องรู้อะไรบ้างถ้าอยากเลี้ยง
  • 7 เรื่องที่ทาสแมวต้องรู้ ถ้าคิดจะเลี้ยงแมวในคอนโด
  • สุนัขพิทบูล สุนัขพันธุ์ใหญ่ ขาโหดที่หลายคนนิยมเลี้ยง

ติดตามผ่านทาง Facebook

  • Popular

Recent Comments

    Categories

    • น้องต่าย
    • น้องนก
    • น้องปลา
    • น้องหมา
    • น้องแมว
    • อลาสกัน คลี ไค
    • อลาสกัน มาลามิวท์
    • เรื่องราวอื่น ๆ
    • ไซบีเรียน ฮัสกี้

    Archives

    • April 2022
    • February 2022
    • January 2022
    • November 2021
    • October 2021
    • September 2021
    • August 2021
    • July 2021
    • June 2021
    • May 2021
    • April 2021
    • March 2021
    • November 2020
    • October 2020
    • September 2020
    • August 2020
    • July 2020
    • June 2020
    • May 2020
    • April 2020
    • March 2020
    • January 2020
    • December 2019
    • November 2019
    • July 2019

    Before Footer

    ติดตามผ่าน Instagram

    Follow on Instagram
    • Home
    • Privacy Policy
    • Contact

    Copyright © 2023 · Wellness Pro on Genesis Framework · WordPress · Log in