ปกติแล้ว เมื่อจะรับน้องหมาสักตัวมาเลี้ยงที่บ้าน เจ้าของก็มักจะต้องพาไปพบสัตวแพทย์ก่อน เพื่อดูว่าน้องจะต้องฉีดวัคซีนสุนัขอะไรบ้าง และจะต้องมาฉีดตอนไหน แต่ถึงกระนั้นก็มีหลายเรื่องที่ควรรู้ ก่อนจะพาน้องไปฉีดวัควัคซีน ได้แก่
- หมาตาแฉะ เพราะอะไร จะรักษาและป้องกันได้อย่างไร
- ช่วยด้วยครับ! หมาหายใจแรง [ผิดปกติหรือเปล่า]
- รู้ทันโรคไร ขี้เรื้อน รักษาอย่างไรเมื่อน้องหมาของเราเป็นโรคขี้เรื้อน
- สุนัขสายพันธุ์ยอดนิยม ดูแลง่าย แถมยังทนความร้อนได้ดี !
- คู่มือ อาบน้ำหมา [พันธุ์เล็ก vs พันธุ์ใหญ่]
- ไปเช็คกัน! หมาของเรากำลังป่วยหรือเปล่า เราจะรู้ได้ยังไงนะ?
- มาดูกันเถอะว่า ทำไมต้อง ตัดขนหมา แล้วมันจำเป็นหรือเปล่านะ
3 เรื่องเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนสุนัข ที่เจ้าของหลายคนอาจไม่รู้มาก่อน
ไม่ควรให้วัคซีนก่อนกำหนดกับลูกสุนัข
ปกติแล้ว ลูกสุนัขสายพันธุ์ต่าง ๆ ควรจะได้รับวัคซีนครั้งแรกเมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป (บางสายพันธุ์อาจจะเริ่มต้นที่ 8 สัปดาห์) แต่ก็มีเจ้าของบางคนที่อยากให้ลูกสุนัขแข็งแรงไว ๆ จึงรีบพาไปฉีดวัคซีนด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผลที่ตามมาก็คือ น้องมีโอกาสจะป่วยมากกว่าปกติ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของน้องยังทำงานไม่เต็มที่ ถึงจะได้รับวัคซีนไป แต่ตัวยาก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และยังไปทำลายภูมิคุ้มกันที่ได้จากน้ำนมเหลืองของแม่สุนัขอีกด้วย
วัคซีนเข็มแรก ไม่สามารถป้องกันโรคได้ทั้งหมด
เจ้าของบางคน เมื่อพาน้องไปฉีดวัคซีนสุนัขเข็มแรกแล้ว ก็ปล่อยปละละเลยให้น้องไปวิ่งเล่นตามใจชอบ เพราะเข้าใจว่าได้รับวัคซีนแล้ว คงจะไม่ป่วยหรือไม่ได้รับเชื้อใด ๆ แน่นอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว วัคซีนเข็มเดียวยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นหากเป็นไปได้ ในระหว่างที่อยู่ในช่วงฉีดวัคซีนยังไม่ครบ ควรให้น้องวิ่งเล่นอยู่แต่ในบ้านก่อนจะเป็นการดีที่สุด
ถึงจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่น้องก็ยังป่วยได้อีก
เจ้าของหมาส่วนใหญ่มักจะเข้าใจ ถ้าพาน้องไปฉีดวัคซีนแล้ว น้องจะไม่มีทางป่วยอีก แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้องยังมีโอกาสป่วยได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ร่างกายไม่แข็งแรงเอง หรือมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมากเกินกว่าที่วัคซีนจะป้องกันได้ และในบางครั้งเองก็อาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการฉีดวัคซีน เช่น ไม่ได้ฉีดวัคซีนกระตุ้นในเวลาที่เหมาะสม หรือวัคซีนหมดอายุไปแล้ว เพราะฉะนั้นการที่น้องได้รับวัคซีนแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าน้องจะไม่ป่วยเลยแล้วจะปล่อยให้ไปไหนก็ได้
รู้แบบนี้แล้ว ก็หวังว่าเจ้าของจะเอาใจใส่น้องมากขึ้นด้วยการไม่ปล่อยให้น้องไปวิ่งเล่นตามใจชอบบ่อย ๆ และหมั่นพาน้องไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยลงได้
อ่านสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ; สาระน้องแมว; สาระน้องกระต่าย
- กระต่ายหูตก มีสายพันธุ์อะไรบ้าง มาดูกันดีกว่า
- แนะนำวิธีการดูแล แมวที่เป็นโรคไต และ อาหารแมวโรคไต
- คนรักแมวต้องรู้ วิธีรักษาแมวท้องเสีย ทำได้อย่างไร?
- วิธีการเลี้ยงดูแล ลูกแมวเปอร์เซียแรกเกิด
- สาระสัตว์เลี้ยง[2020]: วิธีรักษาแมวป่วย ในระดับเบื้องต้น
- ทำอย่างไรดี เมื่อน้องแมวเบื่ออาหาร เรามีคำตอบ!