แมวถ่ายเหลว เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่เจ้าของน้องแมวส่วนใหญ่รู้สึกกังวลไม่น้อย เพราะอาการท้องเสียอาจจะลุกลามไปสู่การเป็นโรคร้ายต่างๆ ได้ ทั้งยังอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของการโรคน้องแมวที่น่ากลัวอีกด้วย ดังนั้นถ้าคุณกำลังกังวลกับเรื่องแมวถ่ายเหลวอยู่ ลองมาดูสาเหตุของอาการดังต่อไปนี้
สาเหตุที่แมวถ่ายเหลว
1.ความผิดปกติทางลำไส้
ความผิดปกติทางลำไส้ของแมวหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร จะสามารถทำให้แมวมีอาการท้องเสียหรือแมวถ่ายเหลวได้ โดยเฉพาะลักษณะของการติดเชื้อต่างๆ ภายในทางเดินอาหารและกระเพาะอาหาร รวมไปถึงปัญหาเรื่องลำไส้อักเสบแบบเฉียบพลัน จะยิ่งเป็นต้นเหตุทำให้แมวถ่ายเหลวและอาเจียนไปพร้อมกัน โดยสาเหตุอาจจะมาจากอาหารเน่าเสีย, ความเครียด และการติดเชื้อ โดยเฉพาะในแมวที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จะเป็นโรคลำไส้อักเสบได้ง่ายกว่าแมวโต จึงทำให้แมวเด็กมักถ่ายเหลวได้บ่อยครั้งและจะมีอาการปวดที่ลำไส้ใหญ่ ถ้าอาการหนักจะถ่ายเหลวปนเลือดและเมือก ซึ่งถ้าพบว่าน้องแมวของคุณมีอาการถ่ายเหลวปนมาด้วยมูกเลือด มีอาการซึม อาเจียน ทานไม่ได้ และมีเลือดติดมากับอุจาระเหลวทุกครั้ง คุณควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
2.มีปรสิตในลำไส้
การมีปรสิตภายในลำไส้ของแมวก็คือ การมีพยาธิและโปรโตซัว อาการจะเป็นได้ทั้งในลูกแมวและแมวโต ทำให้เกิดปัญหาแมวถ่ายเหลวรุนแรง โดยเฉพาะลูกแมวส่วนใหญ่จะมีโปรโตซัวที่จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องอาการท้องเสียรุนแรงจนกลายไปสู่สภาวะขาดน้ำและเสียชีวิตในที่สุด โปรโตซัวที่พบได้บ่อยในลูกแมว คือ จิอาร์เดียและคอกซิเดียที่อยู่ตามเมือกผนังลำไส้ สามารถเข้าสู่ร่างกายแมวได้ง่าย เพราะโปรโตซัวเหล่านี้จะปะปนอยู่ตามพื้นและมีติดอยู่ที่ตัวของหนูอีกด้วย สำหรับแมวที่มีปัญหาติดเชื้อพยาธิและโปรโตซัวหรือการติดเชื้อจากปรสิตในลำไส้ จะมีอาการท้องเสียรุนแรง อุจจาระบ่อยจนทวารหนักมีอาการบวมและแดง มีเมือกปนอยู่ในอุจจาระทุกครั้งที่ถ่ายเหลว
ส่วนพยาธินั้นจะติดได้จากพื้นดินและจากอุจจาระของแมวตัวอื่นที่มีพยาธิอยู่ในตัวอยู่แล้ว จึงทำให้อุจจาระติดไข่พยาธิออกมาด้วย โดยพยาธิที่น่ากลัวกับน้องแมวและทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง คือ พยาธิตัวกลมกับพยาธิตัวตืด สำหรับแมวที่มีพยาธิในลำไส้จะมีอาการท้องเสียหนัก น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ขนมีความหยาบกร้าน อาเจียนบ่อย อุจจาระปนเลือด มีอาการซึมอย่างเห็นได้ชัด และจะเห็นชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีตัวพยาธิออกมาจากรูทวารหนักของแนว การรักษาคือพาพบสัตวแพทย์, รับประทานยาถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก 3-6 เดือน และฉีดยากันพยาธิกับฉีดวัคซีนตามตารางให้ตรงเวลา เพื่อลดการติดเชื้อปรสิตทั้งภายในและภายในของร่างกายน้องแมว
3.ได้รับสารพิษ
การที่แมวรับประทานอาหารปนเปื้อนต่อสารเคมีอันตรายและสารพิษต่างๆ รวมไปถึงการที่แมวอาจจะกินหญ้าพิษและการเลียตามพื้น จะทำให้แมวได้รับสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายได้เช่นกัน จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ซึ่งถ้าเป็นสารเคมีที่ไม่แรงมากหรือกินไปในปริมาณน้อย แมวอาจจะเพียงแค่อาเจียนและแมวถ่ายเหลวอยู่เพียงชั่วครู่หนึ่ง เมื่อสารพิษออกจากร่างกายหมดแล้วก็จะทำให้อาการดีขึ้นเอง แต่ถ้ารับประทานเข้าไปเป็นจำนวนมากและมีการสะสมจะยิ่งทำให้ระบบทางเดินอาหารเสียหาย จนกลายมาเป็นอาการท้องเสียแบบรุนแรง เกิดการขาดน้ำ และถ้าสารเคมีเป็นแบบรุนแรงก็อาจจะไปทำลายอวัยวะภายในของแมวได้อีกด้วย ดังนั้นถ้าพบว่าแมวมีอาการซึม มีอาการเครียด อาเจียนบ่อยและถ่ายไม่หยุดประกอบกับมีประวัติสัมผัสและกินสารเคมีเข้าไป ควรรีบพาพบสัตวแพทย์ทันที
4.อาการแพ้อาหาร
แมวบางสายพันธุ์จะมีปัญหาเรื่องลำไส้ จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ง่าย นอกจากนี้แล้วแมวหลายตัวยังเป็นโรคภูมิแพ้ที่ไม่ได้เกิดเพียงแค่ผิวหนังเท่านั้นแต่จะทำให้ท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งอาการแพ้นี้อาจจะเกิดได้ทั้งจากอาหารและสภาพแวดล้อมรอบข้าง ภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ของแมวจะไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ ดังนั้นจึงทำให้แมวส่วนใหญ่แพ้การดื่มนมวัวจนเกิดเป็นอาการแพ้อาหารและกลายเป็นอาหารเป็นพิษ ที่ทำให้แมวถ่ายเหลวบ่อยครั้งและอาจนำพาสู่การเป็นโรคลำไส้อักเสบได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรดูแลเรื่องอาหาร รับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อวัยของแมว และภาชนะที่ใส่อาหารแมวควรสะอาด แม้แต่พื้นที่ภายในบ้านก็ควรสะอาดด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันอาการแพ้ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับแมวแบบกะทันหัน
5.การเปลี่ยนอาหารใหม่
การเปลี่ยนอาหารใหม่เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มักจะทำให้แมวท้องเสียและแมวถ่ายเหลวได้เช่นกัน เพราะการเปลี่ยนอาหารแบบทันที จะทำให้ลำไส้ของแมวกลับตัวได้ไม่ทัน จึงทำให้แบคทีเรียดีภายในส่วนของกระเพาะและลำไส้ลดน้อยลง เนื่องมาจากปรับตัวไม่ทันต่อกรด-ด่างภายในอาหารใหม่ จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างง่ายดายและรวดเร็ว ดังนั้นคุณจึงควรเปลี่ยนอาหารใหม่ด้วยการผสมกับอาหารเก่าไปก่อน และค่อยๆ ปรับไปเป็นสูตรอาหารใหม่เพียงอย่างเดียว แม้แต่อาหารเปียกก็ควรทำในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน โดยเริ่มปรับเปลี่ยนอาหารเก่าผสมอาหารใหม่ตั้งแต่ 75% ลงไปเหลือ 50% และเหลือเพียงแค่ 25% เป็นการเพิ่มอาหารใหม่เข้าไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะกลายเป็นอาหารใหม่ทั้งหมด 100% เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดปัญหาเรื่องท้องเสียของน้องแมวได้เป็นอย่างดี
อ่านสาระน้องแมวอื่น ๆ เพิ่มเติม;
- มาทำความรู้จักกับ แมวแมงซ์ {Manx} กันดีกว่า
- วิธีการเลี้ยงดูแล ลูกแมวเปอร์เซียแรกเกิด
- คนรักแมวต้องรู้ วิธีรักษาแมวท้องเสีย ทำได้อย่างไร?
- แนะนำวิธีการดูแล แมวที่เป็นโรคไต และ อาหารแมวโรคไต
- อาการแมวหลังทำหมัน สาระที่เจ้าทาสควรรู้ ^^
ลักษณะของการถ่ายเหลว บ่งบอกอะไรได้บ้าง
ลักษณะอาการที่แมวถ่ายเหลวนั้นจะมีตั้งแต่การถ่ายเหลวทั่วไป จนถึงการถ่ายออกมาเป็นน้ำและถ่ายเหลวปนมูกเลือด ที่อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคต่างๆ ต่อไป โดยโรคที่จะมีอาการแมวถ่ายเหลวเป็นสัญญาณเตือน คือ โรคลำไส้อักเสบ, โรคตับอ่อนอักเสบ, โรคติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียทางเดินอาหาร, โรคเนื้องอกและมะเร็งลำไส้, โรคไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคลิวคีเมียและโรคเอดส์แมว รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนทั้งหมด ซึ่งสิ่งที่คุณควรทำคือการพาน้องแมวไปตรวจให้ละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจอุจจาระและตรวจเลือดเพื่อทำให้รู้ผลอย่างชัดเจน จากนั้นให้เข้ารับการรักษาจากสัตวแพทย์พร้อมรับประทานยาอย่างตรงเวลา
แมวถ่ายเหลว อันตรายหรือเปล่า?
แมวถ่ายเหลว อันตรายหรือเปล่า? คำตอบคือต้องดูผลเลือดและผลอุจจาระเป็นหลัก พร้อมกับดูอาการเบื้องต้น ถ้าแมวมีการถ่ายเหลวไม่เกิน 3 วัน แล้วอาการอยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทานอาหารได้และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติจะถือว่าไม่อันตราย แต่หลังจากหายดีแล้วควรนำไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพอีกครั้ง ส่วนน้องแมวที่มีอาการถ่ายเหลวเกิน 3 วันขึ้นไป ร่วมกับอาการซึม ไม่ทานอาหารและน้ำ ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ ถ่ายจนรูทวารอักเสบ และมีมูกเลือดปนในอุจจาระ จะถือว่าเป็นอาการของแมวถ่ายเหลวที่มีความอันตรายอย่างมาก จึงควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อการตรวจเลือดและอุจจาระทันที เมื่อผลออกมาแล้วจะได้รับการวินิจฉัยโรคที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
วิธีรักษาอาการแมวถ่ายเหลวในเบื้องต้น
เมื่อน้องแมวสุดที่รักของคุณเริ่มมีปัญหาเรื่องแมวถ่ายเหลว ให้เริ่มต้นจากการสังเกตดูว่าลักษณะของอุจจาระที่ออกมานั้นเป็นอย่างไร ถ้ายังถ่ายเหลวแต่ไม่ถึงกับเหลวเป็นน้ำ ให้คุณพยายามป้อนน้ำแก่แมวอยู่เสมอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำที่เสี่ยงต่ออาการช็อคจนเสียชีวิตได้ พร้อมกับสังเกตดูว่าแมวมีอาการท้องเสียมาแล้วกี่วัน ถ้ามีอาการท้องเสียแต่ยังคงใช้ชีวิตตามปกติอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนอาหารหรืออาการท้องเสียจากการติดเชื้อทางเดินอาหารที่ไม่รุนแรงมากนัก ให้คุณเน้นเรื่องการทำความสะอาดที่ใส่อาหารและน้ำอยู่เสมอ
แต่ถ้าสังเกตแล้วว่าน้องแมวเริ่มถ่ายเกินกว่า 3 วัน เป็นอุจจาระเหลวที่ไม่ดีขึ้น พร้อมกับปนเมือกหรือเลือดออกมาด้วย ให้คุณนำน้องแมวของคุณไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการวิเคราะห์อาการต่อไป แต่ก่อนที่คุณจะนำพาน้องแมวไปโรงพยาบาลสัตว์ควรเก็บตัวอย่างของอุจจาระน้องแมวที่ถ่ายมาแล้วกว่า 12 ชั่วโมง ไปมอบแก่สัตวแพทย์ด้วย เพื่อให้ทางคณะแพทย์ได้นำอุจจาระไปตรวจสอบอย่างสะดวกและหาสาเหตุอย่างรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ควรทำการตรวจเลือด, เอกซเรย์ และอัลตร้าซาวด์เพิ่มเติม รวมไปถึงการใช้ชุดเทสหาเชื้อต่างๆ เพื่อตรวจดูว่าอาการแมวถ่ายเหลวนี้มาพร้อมโรคที่เป็นอันตรายต่อตัวน้องแมวของคุณด้วยหรือไม่
เมื่อคุณได้พาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ ในช่วงที่กำลังรอผลอยู่ ไม่ควรให้น้องแมวทานอาหารใดๆ แต่ให้เป็นการเสริมด้วยน้ำเกลือแร่และเลือกเป็นอาหารสำหรับแมวป่วยและแมวท้องเสียโดยเฉพาะ ถ้าคุณไม่มั่นใจสามารถสอบถามทางสัตวแพทย์ก่อนและเมื่อผลออกมาแล้ว ไม่ว่าน้องแมวของคุณจะเป็นโรคใดก็ตาม ควรทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์และมาพบตามนัดอย่างสม่ำเสมอ พร้อมไปด้วยกันทานยาและอาหารที่เหมาะสมเท่านั้น เพื่อทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอาการแมวถ่ายเหลวที่ดูเหมือนไม่อันตราย แต่ก็อาจจะคร่าชีวิตน้องแมวของคุณได้ด้วยเช่นกัน
อ่านสาระสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ; สาระน้องหมา; สาระน้องกระต่าย